Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ วงจรชีวิต ลักษณะรูปร่าง พืชอาหาร ป้องกัน วิธีกำจัดศัตรูพืช?

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ (cabbage webworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hellula undalis (Fabricius) วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera 

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ กัดกินทำลายพืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ (Cabbage webworm)

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Hellula undalis (Fabricius)
  • วงศ์ Pyralidae
  • อันดับ Lepidoptera
  • ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ Cabbage webworm

ลักษณะการทําลาย

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ พบระบาดทําความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำโดยเฉพาะกับกะหล่ำปลีโดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินในส่วนยอดที่กําลังเจริญเติบโต ทําให้ยอดขาด ไม่เข้าปลี หรือกัดกินเข้าไปในส่วนของก้าน และลําต้นเป็นทาง ตัวหนอนมักสร้างใยคลุม และมีขุยมูลที่ถ่ายออกมาบริเวณที่เจาะทําให้กะหล่ำปลีแตกแขนง โดยทั่วไปมักพบการระบาดตลอดทั้งปีแต่พบระบาดมากในฤดูแล้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

รูปร่างลักษณะหนอนเจาะยอดกะหล่ำ และวงจรชีวิต

ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เล็กๆ สีขาวนวลตามยอด หรือยอดตาไข่จะวางเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ และตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ได้14-255 ฟอง ระยะไข่ 3-5 วัน ไข่จะเป็นสีชมพูและฟักออกเป็นตัวหนอน เมื่อโตขึ้นเจาะเข้าไปกัดกินภายในส่วนยอด โดยสร้างใยปกคลุม

ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 5 ระยะ ใช้เวลา 15-23 วัน หนอนระยะสุดท้ายมีขนาดลําตัวยาวประมาณ 1.2 ซม. ลําตัวมีแถบสีน้ำตาลแดงพาดตามยาว และจะเข้าดักแด้ซึ่งมีใยหุ้มตามเศษพืชผิวดินหรือใต้ดิน ดักแด้มีขนาด 0.6-0.8 ซม. ระยะดักแด้ 7-11 วัน ก็จะฟักเป็นตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กางปีก กว้าง 1.7-1.9 ซม. ปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลปนเทาพาดตามขวางโค้งไปมา ตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 6-10วัน วงจรชีวิตหนอนเจาะยอดกะหล่ำเฉลี่ย 30-42วัน หรือ8-12ชั่วอายุขัยต่อปี

พืชอาหาร หนอนเจาะยอดกะหล่ำ

พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

ศัตรูธรรมชาติของ หนอนเจาะยอดกะหล่ำ

แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทําลายหนอนเจาะยอดกะหล่ำเช่น แตนเบียนหนอน Apanteles sp.

การป้องกันและวิธีกําจัดหนอนเจาะยอดกะหล่ำ

1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถดินตากแดด หรือเก็บซากพืชที่ผิวดินทําลาย เพื่อกำจัดดักแด้หนอนเจาะยอดกะหล่ำ

2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง

3. การใช้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกําจัด เช่น โพรฟีโนฟอส (ซูเปอร์ครอน 500 อีซี50% อีซี) หรือ โพรไทโอฟอส (โตกุไธออน 50% อีซี) หรือ แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้2.5 อีซี2.5% อีซี) อัตรา 40, 40 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลําดับ โดยพ่นเมื่อพบไข่หรือหนอนระยะแรกเริ่มเข้าทําลายทุก 4-7วัน และพ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้ง.

อ้างอิง: เอกสารวิชาการ แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก กลุ่มบริหารศัตรูพืช / กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2554

รายละเอียดเพิ่มเติม