Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ศัตรูพืช: หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน?

หนอนกระทู้ผัก (Common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera litura (Fabricius) วงศ์ Noctuidae อันดับ Lepidoptera 

หนอนกระทู้ผัก ทําลายพืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว พืชผักชนิดอื่นๆ ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก เป็นต้น

หนอนกระทู้ผัก (Common cutworm)

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera litura (Fabricius)
  • วงศ์ Noctuidae
  • อันดับ Lepidoptera
  • ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ: Common cutworm

ลักษณะการทําลายพืชผัก

หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ วงจรชีวิต การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน
Photo by KENPEI

หนอนกระทู้ผัก เป็นแมลงที่สําคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่พบเข้าทําลายพืชผักตระกูลกะหล่ำ โดยหนอนระยะแรกเข้าทําลายเป็นกลุ่มในระยะต่อมาจะทําลายรุนแรงมากขึ้น 

รายละเอียดเพิ่มเติม

เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทําลายในหัวกะหล่ำ ทําความเสียหายและยากแก่การป้องกันกําจัด ซึ่งการเข้าทําลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ และมักแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ วงจรชีวิต การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน

รูปร่าง ลักษณะหนอนกระทู้ผัก วงจรชีวิต

ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่จํานวนนับร้อยฟอง ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อน หรือสีฟางข้าวใต้ใบพืช ระยะไข่ 3-4 วัน ก็จะฟักเป็นตัวหนอน ระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะ กินผิวใบจนบางใส เมื่อลอกคราบได้ 2 ครั้ง จะสังเกตแถบสีดําที่ปล้องอกที่ 3 ได้ชัดเจน

ลําตัวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเกิดลายเส้น หรือจุดสีดํา และผิวลําตัวมีขีดดําพาดตามยาว หนอนจะเริ่มแยกย้ายทําลายพืชกัดกินใบ ยอดอ่อน หรือเข้ากัดกินซอกกลีบใบในหัวกะหล่ำที่ยังเข้าไม่แน่น ทําให้เสียหาย

ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 5 ระยะ ใช้เวลา 10-15 วัน หนอนระยะสุดท้าย เคลื่อนไหวช้ามีขนาด 1.5 ซม. ระยะดักแด้7-10 วัน ก็จะฟักเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลางสีน้ำตาล กางปีกกว้าง 3-3.5 ซม. ปีกคู่หน้ามีเส้นสีเหลืองพาดหลายเส้น ตัวเต็มวัย มีอายุเฉลี่ย 5-10วัน วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35วัน หรือ12-14ชั่วอายุขัยต่อปี

หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ วงจรชีวิต การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน

พืชอาหาร หนอนกระทู้ผัก

ผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังทําลายพืชผักชนิดอื่นๆ ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก ได้แก่ หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว พริก องุ่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุหลาบ ดาวเรือง และ กล้วยไม้ เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ หนอนกระทู้ผัก

แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทําลายหนอนกระทู้ผักได้แก่แมลงเบียน เช่น แตนเบียนหนอน Microplitis manilae Ashmead แมลงวัน Peribaea orbata (Wiedemann) และ แมลงห้ำ เช่น มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata (Woff)) เป็นต้น

หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ วงจรชีวิต การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน

การป้องกันกําจัด หนอนกระทู้ผัก

1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้ และลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์ของหนอนกระทู้ผัก เป็นต้น

2. การใช้วิธีกล โดยการเก็บกลุ่มไข่และหนอนทําลายจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

3. การใช้โรงเรือนคลุมด้วยตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันการเข้าทําลายของหนอนกระทู้ผักได้ดี

4. การใช้สารจุลินทรีย์กำจัดแมลง (microbial insecticides) ได้แก่ การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) Bacillus thuringiensis (Bt) อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP) หรือ 60–100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (SC) พ่นทุก 3-5 วัน เมื่อพบการระบาด หากมีการระบาดรุนแรงให้พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดปริมาณการระบาด

5. การใช้เชื้อไวรัส (นิวเคลียร์ โพลีฮีโดรซิส ไวรัส) หนอนกระทู้ผัก ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30-50 มล./น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก พ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5วันครั้ง เมื่อพบหนอนระบาด  ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็กจะให้ผลในการควบคุมได้รวดเร็วกรณีหนอนระบาดรุนแรงพ่นอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน

6. สารกำจัดแมลง เมื่อพบมีการระบาด สารกำจัดแมลงที่แนะนำ ได้แก่

  • คลอร์ฟูอาซูรอน (อาทาบรอน 5% เอสซี)อัตรา20 มล./น้ำ20 ลิตร
  • เมทท็อกซี่ฟีโนไซด์ (โปรดิจี้240เอสซี24% เอสซี) อัตรา8 มล./น้ำ20 ลิตร
  • ลูเฟนนูรอน (แม็ท 050อีซี50% อีซี)อัตรา24 มล./น้ำ20 ลิตร
  • คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  • คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

อ้างอิง: เอกสารวิชาการ แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก กลุ่มบริหารศัตรูพืช / กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2554

รายละเอียดเพิ่มเติม