Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

หนอนใยผัก ลักษณะ วิธีใช้สารกำจัดป้องกัน ซื้อที่ไหน ราคาถูก?

หนอนใยผัก (Diamondback moth) ชื่อวิทยาศาสตร์ Plutella xylostella (Linnaeus) วงศ์ Yponomeutidae อันดับ Lepidoptera หนอนใยผักเป็นแมลงศัตรูสําคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทั่วประเทศไทย

หนอนใยผัก (Diamondback moth)

  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Plutella xylostella (Linnaeus)
  • วงศ์: Yponomeutidae
  • อันดับ: Lepidoptera
  • ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ: Diamondback moth 

ลักษณะการทําลายพืชผัก

สารกำจัดหนอนใยผัก โพรฟีโนฟอส

หนอนใยผักเป็นแมลงศัตรูสําคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในแหล่งปลูกผักเพื่อการค้าจะพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจําและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากหนอนใยผักมีวงจรชีวิตสั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว กล่าวคือ ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้หลังออกจากดักแด้และผสมพันธุ์ภายใน 24 ชั่วโมง และวางไข่ได้ตลอดชีวิต

รายละเอียดเพิ่มเติม

นอกจากนี้ในแหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักตระกูลกะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทําให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทําให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอ ส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทําให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด ยากแก่การป้องกันกําจัด ดังนั้นจึงต้องมีแนวทางการป้องกันกําจัดหลากหลายวิธีผสมผสานกัน จึงจะสามารถลดการระบาดของหนอนใยผักลงได้

รูปร่าง ลักษณะหนอนใยผัก และวงจรชีวิต

ระยะเวลาการเจริญเติบโตของหนอนใยผักขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในเขตที่สภาพภูมิอากาศอบอุ่น วงจรชีวิตจะสั้นกว่าเขตที่มีอากาศเย็นกว่า ตัวอย่างเช่นเขตเกษตรที่ราบสูงอําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายน-พฤษภาคม วงจรชีวิตหนอนใยผักเฉลี่ย 17-18 วัน และในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม วงจรชีวิตหนอนใยเฉลี่ย 28-29 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี 17 ชั่วอายุขัยต่อปี

ส่วนในเขตเกษตรที่ราบอําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม วงจรชีวิตหนอนใย ผักเฉลี่ย 14-18 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี25 ชั่วอายุขัยต่อปีตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ ทั้งบนใบและใต้ใบพืช แต่จะพบใต้ใบพืชเป็นส่วนใหญ่

โดยเฉลี่ยตัวเต็มวัยเพศเมีย สามารถวางไข่ได้ประมาณ 50-400 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารที่กินในวัยหนอนระยะต่างๆ ไข่มีขนาด 0.8 มม. สีเหลืองอ่อน ค่อนข้างกลมแบน ระยะไข่2-4 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีดํา เมื่อใกล้จะฟักเป็นตัวหนอน หนอนเมื่อฟักจากไข่ใหม่ๆ จะมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 มม. มีลักษณะเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก และมีสีเขียวอ่อนหรือเทาอ่อนหรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้

หนอนจะกัดกินผิวใบทําให้ผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 4 ระยะ ใช้เวลาเฉลี่ย 7-10 วัน และระยะสุดท้ายมีขนาดประมาณ 0.8-1 ซม. ก็จะเข้าดักแด้บริเวณใบพืช โดยมีใยบางๆ ปกคลุมติดใบพืช และมีขนาดประมาณ 1 ซม. ดักแด้ระยะแรกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาลเมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัวเต็มวัยเฉลี่ยอายุระยะดักแด้3-4 วัน

ตัวเต็มวัย เมื่อออกจากดักแด้จะอาศัยอยู่ตามบริเวณต้นผัก ใต้ใบ ทั้งนี้เพราะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6-7 มม. ไม่ชอบบินไปไกลพืชอาหาร มีสีเทา ส่วนหลังมีแถบเหลืองส้ม ลักษณะหลายเหลี่ยมเหมือนเพชรที่เจียรนัยแล้ว หนวดเป็นแบบเส้นด้าย แต่ละปล้องมีสีดําสลับขาว ตัวเต็มวัยมีอายุขัยเฉลี่ย 5-7 วัน และจากการใช้กับดักแสงไฟ พบว่าตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และเพศเมียบินมาเล่นแสงไฟจากกับดักมากที่สุดเวลา 18.00-20.00 น. และมีอัตราส่วนเพศผู้: เพศเมียเท่ากับ 1 : 0.9 เช่นเดียวกับการใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง พบว่าตัวเต็มวัยมีช่วงเวลาที่บินมากที่สุดเวลา18.00-21.00 น. และมีอัตราส่วนเพศผู้: เพศเมียเท่ากับ 1:0.79

พืชอาหาร หนอนใยผัก

พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก กะหล่ำดอกอิตาเลียน กะหล่ำปมผักกาดเขียวปลีผักกาดขาวปลีผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดดอก ผักกาดฮ่องเต้เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ หนอนใยผัก

หนอนใยผักมีศัตรูธรรมชาติคอยควบคุมหลายชนิด ได้แก่ แมลงเบียนชนิดต่างๆ เช่น แตน เบียนไข่ (Trichogramma confusum Viggiani และ Trichogrammatoidea bactrae Nagaraja) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมไข่หนอนใยผัก 16.2-45.2 เปอร์เซนต์แตนเบียนหนอน (Cotesia plutellae Kurdjumov และ Oomyzus sokolowskii Kurdjumov) มีประสิทธิภาพในการเข้าทําลายหนอนใยผัก 60-90 เปอร์เซ็นต์และแตนเบียนดักแด้(Thyrarella collaris (Gravenhorst)) มีประสิทธิภาพทําลายดักแด้23.28เปอร์เซ็นต์

วิธีป้องกันกําจัด หนอนใยผัก

1. การใช้กับดักชนิดต่างๆได้แก่

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง

เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียว ทุก 7-10 วันครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้0.79 : 1 และเมื่อติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจํานวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารกำจัดแมลงมากกว่า50เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ

หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดําเนิน การติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

กับดักสารเพศ

กับดักสารเพศของ Takeda ซึ่งมีส่วนผสมของ cis-II-hexadecenal : cis-II-hexadecenyl acetate : cis-II-hexadecenol ในอัตรา 5:5:0.1 จํานวน 0.1 มก. มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดักจับผีเสื้อหนอนใยผักเพศผู้และพบว่าจํานวนหนอนใยผักบนต้นผักมีความสัมพันธ์กับผีเสื้อที่จับได้ในกับดักสารเพศ ซึ่งปัจจุบันสารเพศล่อชนิดนี้ค่อนข้างหายาก

2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง

โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทําลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

3. การใช้ศัตรูธรรมชาติ

การใช้แตนเบียนไข่

จากการทดลองปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 60,000 ตัว/ไร่ สามารถควบคุมการระบาดของหนอนใยผักให้อยู่ต่ํากว่าระดับการทําลาย

การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)

ปกติในธรรมชาติจะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกําจัดหนอนใยผัก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่จะทําให้หนอนใยผักตาย ปัจจุบันจึงมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียในรูปการค้าออกจําหน่ายที่สําคัญมี2 สายพันธุ์คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki

4. การใช้วิธีทางเขตกรรม

สามารถช่วยลดการระบาดของหนอนใยผักได้เช่น การไถพรวนดินตากแดด หรือการทําลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งนี้เพื่อขัดขวางการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของหนอนใยผัก

5. การใช้ระดับเศรษฐกิจและการสุ่มตัวอย่าง

ในการพิจารณาพ่นสารกำจัดแมลงป้องกัน กําจัดหนอนใยผัก ควรสํารวจตรวจนับจํานวนหนอนใยผักก่อนตัดสินใจ โดยทําการสํารวจแบบซีเควนเชียล ซึ่งเป็นวิธีการที่รวดเร็ว สะดวก และมีความแม่นยําสูง ผลการใช้ตารางสํารวจสามารถลดการใช้สารกำจัดแมลงได้มากกว่า50เปอร์เซ็นต์

6. การใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช

เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อยบางบัวทอง เป็นต้น

การพิจารณาเลือกใช้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ สามารถป้องกันกําจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทําลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกําจัดหนอนใยผัก

รายละเอียดเพิ่มเติม