Lazada Birthday

» วันเกิดลาซาด้า! ลดแรงกว่า 90%*

24 - 27 มี.ค. นี้เท่านั้น (จำนวนจำกัด)

กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง กระชายขาว มีกี่ชนิดบ้าง ประโยชน์ สรรพคุณ?

กระชายมีทั้งหมด 4 ชนิด กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง กระชายขาว แต่ละชนิดมีลักษณะที่น่าสนใจ สรรพคุณ วิธีใช้ ประโยชน์ ช่วยอะไร วิธีปลูกต้นกระชาย ดูแลรักษา การผลิตกระชาย

คนไทยมีคำพูดที่ใช้พูดเล่นโต้ตอบกัน เชิงหยอกล้อกันเล่น หรือใช้แต่งกลอนกันเล่น ซึ่งจะพบเห็น หรือได้ยินการใช้คำเหล่านี้กับพืช อย่างเช่น กระชงกระชาย กัญชงกัญชา เหล่านี้คือ คำคล้องจองหรือ คำสัมผัส คือ คำที่ใช้สระหรือพยัญชนะเสียงเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดจะต้องมีตัวสะกดในมาตราเดียวกัน

ความจริงต้องการพูดถึงเรื่อง “กระชาย” แต่ขอแทรก เรื่องที่เกี่ยวข้องทางภาษาไทยสักหน่อย เตือนความจำและ ระลึกถึงคำที่คงเคยได้ยินกันมาบ้าง ซึ่งแม้แต่คำว่า กระชาย หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า กระชายดำ กระชายแดง กระชาย เหลือง และในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบัน เราก็คง ได้ยินคำว่า กระชายขาว ที่อาจทำให้หลายคนมีความกระตือรือร้น อยากไปหามาบริโภคหรือปลูก เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ได้ยินมา และความกระตือรือร้นลดลง เมื่อเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับ ที่บริโภคเป็นประจํา

รู้จักกับ "กระชาย"

กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง กระชายขาว สรรพคุณ

กระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. มีชื่อพ้อง Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr. (Boesen bergia pandurata Roxb.) เป็นสมุนไพรและเครื่องเทศชนิด พืชผักที่มีอยู่ในสูตรอาหารของคนไทยเกือบทุกประเภท อยู่ใน วงศ์ Zingiberaceae

รายละเอียดเพิ่มเติม

กระชาย มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น ขิงแดง ซึ่งทราย จึงกระชาย หัวละแอน เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำดี ไม่เหมาะกับพื้นที่ ดินเหนียว และดินลูกรัง การบริโภคใช้ส่วนที่เป็นรากเหง้า หรือ หัวที่อยู่ในดิน มีสรรพคุณทางยาเนื่องจากสามารถบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะ และอื่น ๆ

กระชายมีกี่ชนิด

กระชายมีทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่ กระชายา (Kaemp feria parviflora Wall) กระชายแดง (Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.) และกระชายเหลือง (Boesen bergia rotunda (L.) Mansf.) และอีก 1 ว่าน คือ ว่านเพชร กลับ หรือที่เรียกว่า กระชายขาว (Boesenbergia thoreli (Gagnep.) Loes.)

ซึ่งกระชายที่ใช้ในการปรุงอาหารจะนิยม ใช้กระชายเหลือง กระชายที่ปลูกทั่วไป ให้ผลผลิตในช่วง มิถุนายน – สิงหาคม ส่วนกระชายดำ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 - 1,400 เมตร เช่น อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ในกระชายยังมีน้ำมันหอมระเหย (CINEOL, BORNEOL) ใช้รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง บิด ขับระดู บำรุงกำหนัด แก้กระษัย แก้แผลในปาก ไอเรื้อรัง ลดความ อ่อนเพลีย แก้โลหิตเป็นพิษ บำรุงธาตุ และแก้ปากเหม็น อีกด้วย

กระชายเหลือง

กระชายเหลือง เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบพยุงลำต้นที่แตกเป็นข้อสั้น ๆ ไม่ให้โยกไปมา มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบ ขึ้นอยู่ในป่าดิบร้อนชื้น

ต้นกระชายเหลือง

- ใบกระชายเหลือง: คือส่วนที่อยู่เหนือดิน มีประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะ ของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12 - 50 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 5 - 12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้าน ล่างจะนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7 - 25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7 - 25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ

รายละเอียดเพิ่มเติม

- ดอกกระชายเหลือง: ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออก ที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาว ประมาณ 3.5 - 4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาว อมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก

ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาว อมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอกมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร และยาว ประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อัน จะเปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือน กลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย

- ผลกระชายเหลือง: ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสียง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

กระชายเหลือง

- รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย”: เป็น รูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาว ประมาณ 4 - 10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อใน มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

รายละเอียดเพิ่มเติม

กระชายแดง

กระชายแดง จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ ใต้ดิน หรืออาจเรียกว่า “หัวกระชาย” หรือ “นมกระชาย” หรือ “กระโปก” ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะ แตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมี สีเหลืองแกมส้ม ส่วนขนาดของลำต้น ขนาดใบ เหง้าหรือราก จะเล็กกว่ากระชายเหลือง มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 30-80 เซนติเมตร สามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ

ต้นกระชายแดง

- ใบกระชายแดง: มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ค่อนข้าง ยาวหรือเป็นรูปใบแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบขนาน มีความกว้างประมาณ 4 - 8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15 - 30 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเรียบและเป็นมัน ก้านใบ เป็นร่อง มีลิ้นใบบางใสที่ส่วนบนของกาบใบ โคนกาบใบและ หลังใบมีสีแดงเรื่อ ๆ ส่วนกาบใบทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มลำต้น และหลังใบด้านล่าง

รายละเอียดเพิ่มเติม

- ดอกกระชายแดง: ดอกออกเป็นช่อ โดยช่อดอกจะยื่นยาวโผล่ขึ้นมาจาก กลางยอดระหว่างใบ โดยจะโผล่เฉพาะส่วนที่เป็นกลีบดอก และส่วนของใบประดับ ดอกมีใบประดับหุ้มช่อดอก กลีบเลี้ยง ที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 3 หยักสั้น ๆ บางใส ส่วนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว

กลีบดอก มีสีชมพูอ่อน 3 กลีบ กลีบด้านบนมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูป ใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มีสีชมพูอ่อนถึงสีชมพู ส่วนกลีบด้านล่างมี 2 กลีบ จะอยู่บริเวณใต้กลีบปาก ลักษณะ เป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก มีปลายแหลม มีสีชมพูอ่อน ๆ

เกสรตัวผู้ส่วนที่เป็นกลีบอยู่บนปลายยอดกลีบดอกจะมี 3 หลัก แยกจากกัน โดยหยักบนจะมี 2 หยัก มีขนาดเท่ากัน ลักษณะ เป็นรูปไข่กลับ ปลายกลม มีสีชมพูอ่อน ส่วนหยักล่างมี 1 หลัก มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นรูปไข่กลับ กลางกลีบโค้งคล้ายท้อง เรือ ส่วนปลายแผ่ขยายกว้าง ที่ขอบเป็นลอน พื้นมีสีชมพู หรือ สีแดงแต้มด้วยสีชมพูเข้ม ส่วนริมขอบปากเป็นลอนเล็กน้อย ก้านเกสรสั้น ลักษณะโค้งเล็กน้อย

ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะ คล้ายกับรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีสีขาวแกมชมพูอ่อน ที่โคน ก้านเกสรจะมีต่อม 2 ต่อม ลักษณะเป็นรูปเรียวยาว และดอก ย่อยของกระชายแดงจะทยอยบานทีละดอก

- ผลกระชายแดง: ผลแก่มีพู 3 พู และมีเมล็ดอยู่ภายในผล

รากกระชายแดง

- รากสะสมอาหาร หรือ เหง้า จะมีลักษณะเป็นแท่ง กลม เรียวยาว ออกเป็นกระจุก พองตรงกลางและน้ำ เหง้า มีสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นหอมอ่อน กลิ่นไม่แรงเหมือนกระชาย เหลือง

รายละเอียดเพิ่มเติม

กระชายดำ

กระชายดำ ชื่ออื่น ๆ เรียก ว่านจังงัง ว่านกำบัง และ ว่านพญานกยูง เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้นมีเหง้าใต้ดิน จัดเป็น ว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนกลาง ของลําต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนหุ้มใบมีถิ่นกำเนิดในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

ต้นกระชายดำ

- ใบกระชายดำ: มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็น รัศมี ขนาดใบกว้างประมาณ 7 – 15 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและ กระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบมีสีม่วงเล็กน้อย

รายละเอียดเพิ่มเติม

- ดอกกระชายดำ: ออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ ช่อดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ริมปากดอกมีสีขาว กลีบรองดอก เชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้เหมือนกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัว เมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน

เหง้า กระชายดำ

- รากสะสมอาหาร มีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็น หางไหล ขณะต้นเล็กจะมีแต่รากและเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจมีสีม่วงหม่น หรือสีดำขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดและ ชนิดของดิน

รายละเอียดเพิ่มเติม

กระชายขาว หรือ ว่านเพชรกลับ

ว่านเพชรกลับ ชื่ออื่น ๆ เรียก กระชายขาว (ม้ง) เป็น ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน รูปกลมเนื้อในสีขาว สูง 50 - 80 เซนติเมตร มีแหล่งกำเนิดในอินโดจีน ไทย ลาวและมาเลเซีย เป็นพืชในเขตร้อนชื้น

ต้นกระชายขาว หรือ ว่านเพชรกลับ

- ใบกระชายขาว: รูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบแผ่นใบ ด้านล่างสีเขียวแต้มนํ้าตาลแดงจาง ๆ ไม่มีก้านใบ กาบใบ มีขน ลิ้นใบ ขอบสองด้านสูงยาวไม่เท่ากัน ขอบมีขน

รายละเอียดเพิ่มเติม

- ดอกกระชายขาว: ดอกช่อออกที่ปลายยอด ดอกทยอยบาน - ครั้งละ 1-3 ดอก กลีบประดับสีเขียวอ่อน มีขน กลีบเลี้ยง สีขาวใส กลีบดอกมี 3 กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 2 - 2.1 เซนติเมตร ปลายกลีบแยก 3 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาวใส

ดอกกระชายขาว หรือ ว่านเพชรกลับ

เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมี 3 กลีบ กลีบข้างมี 2 กลีบ รูปไข่กว้างหัวกลับสีเหลืองอ่อน แต้มสีชมพูที่โคนกลีบ กลีบปากหรือกลีบใหญ่มี 1 กลีบ รูปคล้ายเรือสําเภาขนาด กว้าง 1.2 - 1.4 เซนติเมตร พื้นสีขาวแกมเหลืองมีแถบสีชมพู แกมแดงยาวตามแนวกลางกลีบและปลายกลีบ เกสรเพศผู้ อยู่ระหว่างกลางกลีบปากรูปขอบขนาน ก้านเกสรสั้น ปลายเว้า ไม่มีรยางค์ที่ปลาย สีขาว มีขน เกสรเพศเมียยอดเกสรสีขาว มีขนที่ปลาย

เหง้า กระชายขาว หรือ ว่านเพชรกลับ

- รากสะสมอาหาร หรือ เหง้า มีลักษณะเป็นฝอยย้อน กลับ ตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลกพุ่งขึ้นทางอากาศ ไม่พุ่ง ลงทางดิน

การแบ่งลักษณะรากของกระชาย

นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งลักษณะรากของกระชาย ตามที่ เกษตรกรแบ่งแยกว่ามีความแตกต่างกัน 2 พันธุ์ คือ 

  1. พันธุ์รากกล้วย มักพบในดินทรายร่วน
  2. พันธุ์รากพวง มักพบ ในดินร่วนปนทราย หรือ ดินเหนียว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำ น้อย ฝนทิ้งช่วงนาน ๆ จะเกิดรากพวงมากขึ้น

การปลูกกระชาย

สภาพพื้นที่ปลูก ชอบอากาศร้อนชื้น ดินร่วนปนทราย หรือดินทรายไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรังเจริญเติบโตได้ใน ที่กลางแจ้งและร่มรำไร

วิธีปลูกต้นกระชาย

การเตรียมดิน

โดยทั่วไปกระชายสามารถขึ้นได้ในดิน ทุกชนิดโดยเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีไม่ท่วมขัง ทำการ ไถพรวนหรือขุดดินเพื่อให้ดินร่วนซุย ถ้าดินระบายน้ำดี ไม่จําเป็นต้องยกร่อง ข้อแนะนำในการเตรียมดินควรไถพรวน ตอนต้นฤดูฝน และควรมีการยกร่องปลูกโดยมีระยะห่างระหว่าง แถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร และขุดหลุม ลึกประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร

รายละเอียดเพิ่มเติม

การเตรียมเหง้าพันธุ์

คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7 - 9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย ขนาดของเหง้าควร มีตาอย่างน้อย 3-5 ตา ตาหรือแง่งมีน้ำหนัก 15 - 50 กรัม และไม่มีส่วนของรากติดมา

วิธีปลูกกระชาย

ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณหลุมละ 200 กรัม (1 กระป๋องนม) นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกในแต่ละ หลุม กลบดินปิดเหง้าหนา 5 เซนติเมตร หลังจากปลูกคลุม แปลงด้วยฟางหรือหญ้าคาหนาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกัน การงอกของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน รดน้ำให้ชุ่มกระชาย จะใช้เวลาในการงอก ประมาณ 30 - 70 วัน หลังปลูก

การดูแลรักษา

ในหนึ่งรอบการปลูกกระชาย ใส่ปุ๋ยเพียง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใช้สูตร 15-15-15 ในช่วงอายุ 2 - 3 เดือน อัตราไร่ละ ครึ่งกระสอบ หรือ 25 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 3 - 4 เดือน (เว้นห่างจากครั้งแรก 1 เดือน) ฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมพวก กรดอะมิโน เพื่อช่วยในการเร่งราก เร่งหัวโตฉีดพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน พร้อมกับใส่ปุ๋ย 0-0-50 ในการฉีดพ่นนั้น ทำให้แขนงรากฝอยมากขึ้นช่วยในการหาอาหารได้ดีขึ้น การให้น้ำจะแบ่งรดน้ำเป็นร่อง ใช้เวลาร่องละ 20 นาที

การเก็บเกี่ยว

กระชายที่มีอายุประมาณ 6 - 7 เดือน จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ซึ่งกระชายที่แก่เต็มที่ให้สังเกตจากใบและลำต้นเทียมมีลักษณะสีเหลืองและยุบตัวลง สามารถชะลอเก็บได้นาน 4 เดือน ฤดูการปลูกกระชาย ปลูกในช่วงฤดูฝนปลายเดือน เมษายน พฤษภาคม และจะเก็บหัวในช่วงฤดูหนาว คือปลาย เดือนธันวาคม - มกราคม ซึ่งช่วงดังกล่าวหัวจะแห้ง

ปัญหาการผลิตกระชาย

ความสําคัญของการผลิตก็คือได้ผลผลิตสูงมีคุณภาพ ปราศจากสิ่งปนเปื้อน และมีความสะอาดไร้ตำหนิ เป็นที่ต้องตา ต้องใจของลูกค้า แต่การผลิตกระชายซึ่งผลผลิตกระชายอยู่ ใต้ดิน ผลผลิตจะปรากฏแก่สายตาต่อเมื่อแก่จัด หรือเก็บเกี่ยว พร้อมส่งขาย

บางครั้งถ้าต้นเทียมและใบไม่แสดงอาการให้เห็น เกษตรกรจะพบกับการขาดทุน ทันทีที่เหง้าและรากของกระชาย ถูกทําลายด้วยโรคระบาด ซึ่งพบบ่อยก็คือ โรคเหง้าเน่า เกิดจาก เชื้อ Ralstonia sp. ซึ่งทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาเหง้าและรากไว้ใต้ดินให้อยู่นาน นถึงเวลาที่รากกระชายขาดตลาด ราคาเริ่มสูงขึ้น กำไรจะได้มากขึ้น

ดังนั้นเมื่อจะเริ่มปลูกกระชาย จะต้องปรับสภาพดินก่อนปลูกด้วยส่วนผสมของปุ๋ยยูเรีย กับปูนขาว ในอัตราส่วน 1:10 และต้องแช่เหง้าหัวพันธุ์ใน ชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ความเข้มข้น 108 - 109 cfu/ml นาน 1 ชั่วโมง เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

โรคและแมลงศัตรูพืช กระชาย

นอกจากโรคแล้ว แมลงที่ทำลายใบซึ่งเปรียบเสมือน โรงงานผลิตอาหารที่จะมาสะสมที่รากกระชาย ก็ต้องระวัง เหมือนกัน จากการปลูกกระชายจะพบหนอนปลอกมาทำลาย ใบให้เป็นรูพรุน และถ้ามีจำนวนมากจะทำลายทุกใบ ทำให้ใบ สังเคราะห์แสงได้น้อยลง ซึ่งจากการสังเกตพบว่า ใบที่มีลักษณะ ออกสีแดงหนอนปลอกจะเข้าทำลายมากกว่ากระชายที่มีใบ สีเขียว

รายละเอียดเพิ่มเติม

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตระกูล กระชาย

จากสถิติการผลิตกระชายเฉลี่ย 1,823 กิโลกรัมต่อไร่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการสำรวจ ศึกษา กระชายจากจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร จันทบุรี กาญจนบุรี กระบี่ นครราชสีมา นครสวรรค์ นครปฐม เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย ตรัง และอุทัยธานี รวม 60 ตัวอย่าง (accession number) ปลูกทดสอบคัดไว้ 34 ตัวอย่าง

คัดเลือกเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพและคุณภาพ 6 ตัวอย่าง ได้แก่ KR-005-59-001 KR-013-59-002 ST-010-59-001 RB-003-59-003 CP-008-59-001 N RB-009-59-001 นําไปเปรียบเทียบในการทดลองทางสถิติ 6 กรรมวิธี จํานวน 4 ได้ตัวอย่าง RB-003-59-003 มีพุ่มสูง 54.4 เซนติเมตร ผลผลิต 1,928 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ มีน้ำมัน หอมระเหย 0.37 เปอร์เซ็นต์

เมื่อนําความรู้ด้านแบบจำลอง FAO's Aqua Crop มาศึกษาใช้เป็นเทคโนโลยีการผลิตพืชกระชาย เปรียบเทียบ กับวิธีการที่เกษตรกรใช้ พบว่าการผลิตในร่มเงาพรางแสงโดย พืชไม้ใหญ่คลุมกระชายไว้ การใช้แบบจำลอง FAO's Aqua Crop จะให้น้ำหนักสุดของรากต่อต้น น้ำหนักแห้งของเหง้า ต่อต้น และผลผลิตต่อไร่ น้อยกว่าวิธีการที่เกษตรกรใช้คือ ได้ 2,925 กิโลกรัมต่อไร่

ขณะที่วิธีที่เกษตรกรใช้ได้ 3,535 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งวิธีการมีร่มเงาจะทำให้การเจริญเติบโตเป็น ปกติแต่การสร้างอาหารหรือน้ำหนักรากทำได้ไม่ดีเท่ากับการ ให้น้ำมากแบบวิธีที่ใช้ของเกษตรกร จึงควรดัดแปลงไปใช้กลาง แจ้งต่อไป

การปลูกกระชายในรูปแบบอื่น สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้ เช่น การผลิตกระชายในถุงพลาสติกดำ การปลูกในตะกร้า พลาสติกบุด้วยตาข่ายตาถี่ แต่จะต้องปรับปรุงโครงสร้างของ วัสดุเพาะปลูกให้โปร่งเบา มีคุณภาพของสารอินทรีย์วัตถุที่ สนับสนุนการเจริญเติบโตและการสะสมสารสำคัญที่ลูกค้าต้องการให้ได้ปริมาณสูง ใช้ต้นทุนการผลิตยาต่อน้ำหนักสุด หรือน้ำหนักแห้งคุ้มทุน และที่สำคัญควบคุมสารปนเปื้อนหรือ สารตกค้างที่เป็นอันตรายได้ด้วย.

อ้างอิง: เกษมศักดิ์ ผลากร; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม