Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: ลางสาดลับแล ผลไม้ของอุตรดิตถ์ รสชาติหอมหวาน?

จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นแหล่งปลูกลางสาดมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อผลไม้ชนิดนี้ จึงทำให้ลางสาดเจริญงอกงามดี ทำให้มีรสชาติดีทั้งหวานและหอม ในขณะที่ลางสาดที่อื่น ๆ มีแต่หวานอย่างเดียว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของลางสาดในท้องถิ่น อีกทั้งยังมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีผลสีเหลืองนวล ออกเป็นพวงใหญ่ เนื้อของผลมีลักษณะใส รสชาติดี

แหล่งกําเนิดลางสาดอุตรดิตถ์

ลางสาด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lansium domesticum Corr. อยู่ในตระกูล Maliaceae มีต้นกำเนิดเดิมอยู่ตาม หมู่เกาะมลายู ชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นต้น 

ลางสาดลับแล ผลไม้ขึ้นชื่อของอุตรดิตถ์ รสชาติดี หอมหวาน

ซึ่งเป็นเขตที่มีอากาศร้อนและชุ่มชื้น ได้รับมรสุมฝนตกชุกติดต่อ กันเป็นเวลานาน ประมาณ 180 - 200 วัน มีสภาพอากาศ เหมาะสมที่ลางสาดจะเจริญเติบโตได้ดี

รายละเอียดเพิ่มเติม

ชาวสวนลับแลดั้งเดิม มีการปลูกลางสาดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งผู้นำการปลูก ในยุคนั้นคือ พระศรีพนมมาศ นายอำเภอคนแรกของอำเภอ ลับแล การปลูกลางสาดของชาวสวนส่วนใหญ่จะปลูกโดยการ ใช้เมล็ด ไม่มีการจัดระเบียบสวน นึกอยากจะปลูกตรงไหน ก็ปลูก จนดูเป็นป่าไปหมด ทั้ง ๆ ที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน

ลางสาดเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์หรือ เมืองลับแลมายาวนาน ถือว่าเป็นผลไม้ประจำจังหวัด เป็นไม้ผล เมืองร้อนที่มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีผลสีเหลืองนวล ออกเป็นพวงใหญ่ เนื้อของผลมีลักษณะใส รสชาติดี และอยู่ใน ความนิยมของผู้บริโภค ให้ความรู้สึกด้านรูปลักษณ์ และ รสชาติ ของความเป็นผลไม้ ที่มีเอกลักษณ์ของผลไม้ป่าอยู่มากกว่า ผลไม้อื่น ๆ

ลางสาดเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่จำเป็นต้องตกแต่งพันธุ์กรรม เป็น ธรรมชาติต้นตำรับเฉพาะตัว มีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะ วิตามิน บี 1 บี 2 และ วิตามินซี มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นพืช สมุนไพร เปลือกต้น เปลือกผล ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ ท้องร่วง ท้องเดิน เมล็ดใช้ฝนกับน้ำฝนหยอดหูรักษาอาการ หูอักเสบ ในหู ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคเริม และงูสวัด ได้ด้วย

ลางสาดลับแล ผลไม้ขึ้นชื่อของอุตรดิตถ์ รสชาติดี หอมหวาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นไม้ผลขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 15 - 30 เมตร มักมีลำต้นเหยียดตรงขึ้นไป มีเส้นผ่านศูนย์กลางของ ลำต้นประมาณ 12 - 20 นิ้ว เปลือกลำต้นบางสีน้ำตาล อมเขียวมีร่องริ้วเล็ก ๆ เป็นรอยแตกบริเวณเปลือกอยู่ทั่วไป เมื่อเดือนเปลือกออกจะมียางสีขาวไหลออกมา เนื้อไม้แข็ง ทรงพุ่มต้นทรงกรวยแหลม

ใบ: จัดอยู่ในประเภทใบรวม (Compound leaf) มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบเป็นคู่อยู่ตรงข้ามกัน แต่ละใบ จะมีใบย่อยประมาณ 3 - 6 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลักษณะเป็นใบยาวรีหรือป้อมเป็นรูปไข่ ไม่มี ชนอ่อนอยู่ใต้ใบ ปลายใบแหลมสั้นหรือเป็นครีบเล็กน้อย ด้านหน้าของใบเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านหลังใบเป็นสีเขียวจาง

ดอก: เกิดจากตาดอกตามต้นและกิ่งใหญ่เป็นส่วนมาก หรือพบว่ามีการเกิดดอกตามกิ่งแขนงเล็กบ้างประปราย ตาดอกอยู่รวมเป็นกระจุก ๆ ลักษณะดอกเป็นเส้น ๆ คือ แต่ละเส้นนั้นเป็นแต่ละช่อดอก อาจเกิดหลายช่อดอกในแต่ละกลุ่มหรือกระจุกของตาดอก

ช่อดอกยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นแบบ Spike (ก้านช่อ) มีดอก แต่ละดอกเรียงสลับกันอยู่บนก้านช่อดอกที่เป็นแกนกลาง ก้านดอกอวบและเหนียว แต่ละดอกจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละเพศมีก้านเกสรที่สั้นมากเกือบจะไม่มีก้านเกสรเลยก็ได้

ลางสาดลับแล ผลไม้ขึ้นชื่อของอุตรดิตถ์ รสชาติดี หอมหวาน

กลีบรองดอกอวบคล้ายรูปด้วยมีอยู่ 5 กลีบ แต่ละกลีบสั้นมาก สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อนที่ปกคลุมไปด้วยขนอ่อน ๆ เมื่อกลีบรองดอกแห้งจะเป็นสีน้ำตาลและไม่ร่วง แต่จะติดอยู่กับ ผลทุก ๆ ผลกระทั่งสุก และจะหลุดออกต่อเมื่อขั้วผลชิ้นที่ติดกับ ผลหลุดออก

ถัดจากกลีบรองดอกเข้าไปเป็นกลีบดอกลักษณะ เหยียดตรง อวบ สีขาว หรือเหลืองจางรูปไข่มีขนอ่อนปกคลุม ถัดเข้าไปอีกเป็นชั้นของเกสรตัวผู้ลักษณะเป็นหลอดกลม อวบ และสั้นกว่ากลีบดอก มีอับละอองเกสรเรียงชั้นเดียว ส่วนกลาง หรือในสุดเป็นรังไข่ลักษณะกลมปกคลุมด้วยขนอ่อนทึบ ภายใน รังไข่แบ่งออกเป็นกลีบ ๆ ประมาณ 4 - 5 กลีบ มียอดเกสร ตัวเมียสั้นและแข็งเป็นร่องริ้ว หรือเป็นเหลี่ยม 4 - 5 เหลี่ยม

ผล: ติดกันเป็นพวงสลับกันแน่นกับก้านผล ผลมีทั้ง กลมและผลกลมรี (มีจุกบ้าง) สีผิวเปลือกเมื่ออ่อนออกเขียว เมื่อสุกสีออกเหลืองอ่อนหรือเหลืองจาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกผลมีทั้งบางและหนา

หากเป็นลางสาดเปลือกจะบาง เมื่อแกะเปลือกจะมียางเหนียว ๆ ติดมือ ส่วนเปลือกผลลองกองไม่มียาง เนื้อในมีทั้งน้ำและ แห้ง เนื้อไม่ติดเปลือก เนื้อภายในผลแบ่งออกเป็นกลีบ ๆ ได้ 4 - 5 กลีบ สีเนื้อขาวใสและขาวขุ่น มีทั้งรสหวานหอมและอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ละผลอาจมีเมล็ดเพียง 1 - 2 เมล็ด หรือไม่มีเมล็ดเลย เมล็ดสีเขียวและมีรสขม

ลางสาดลับแล ผลไม้ขึ้นชื่อของอุตรดิตถ์ รสชาติดี หอมหวาน

วิธีการปลูกและดูแลรักษา

1. การปลูกต้นลางสาด

การปลูกลางสาดสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี การปลูกลางสาดทำได้หลาย วิธีการปลูกโดยใช้การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การเสียบยอด การตอนกิ่ง จะนิยมปลูกมากกว่า วิธีอื่น เพราะจะให้ผลผลิตเร็วกว่า

โดยใช้กิ่งพันธุ์มาเพาะใส่ ลงในถุงพลาสติกเพาะชำ รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในที่แดดร่ม ใช้เวลาเพาะประมาณ 1 ปี แล้วนำมาปลูกลงในแปลง ระยะ ห่างระหว่างต้นประมาณ 6x8 เมตร ลางสาดชอบดินชุ่มชื้น อากาศร้อน มีแสงแดดเพียงพอ ต้องให้น้ำเพียงพอ ระบาย น้ำดีในการปลูกช่วงแรกต้องรดน้ำทุกวัน เมื่อลางสาดเติบโต ขึ้นก็ให้น้ำได้ตลอดไป หรืออาจปลูกในฤดูฝนจะดี

2. การใส่ปุ๋ย

เกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์จะบำรุง นลางสาดโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก) ในระยะหลังเก็บเกี่ยว ผลผลิตในปริมาณที่ต่างกัน ตั้งแต่อัตรา 1 - 5 กิโลกรัมต่อต้น ปีละครั้ง และเกษตรกรบางรายจะใส่ปุ๋ยเคมีสลับกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 - 2 กิโลกรัมต่อต้น 1-2 ปีต่อครั้ง วิธีการใส่ปุ๋ยเกษตรกรส่วนใหญ่จะหว่านรอบ ทรงพุ่ม และมีบางรายใส่โดยการฝังดิน

3. การให้น้ำ

เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการให้น้ำ โดย จะอาศัยน้ำฝน ทำให้ปริมาณน้ำในการผลิตลางสาดไม่ เพียงพอ และบางส่วนจะมีลำธารไหลผ่าน ทำให้บางช่วงของ การผลิตเกษตรกรใช้น้ำจากลำธารร่วมด้วย

4. การตัดแต่งกิ่ง

 เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง และมีบางรายมีการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคแมลงเข้า ทําลาย และกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออก

5. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

โรคที่พบการเข้าทำลายในแปลงจะพบโรคราดำ โรคราขาว และราสีชมพู แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการป้องกัน กําจัด และมีเกษตรกรบางรายป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีกล ชีววิธี และฉีดพ่นสารเคมี

ส่วนแมลงที่พบในแปลงจะพบผีเสื้อมวนหวาน แมลงวัน ทอง และหนอนชอนเปลือก การป้องกันกําจัดแมลงส่วนใหญ่ จะไม่มีการป้องกัน และมีบางรายป้องกันกำจัดโดยใช้น้ำหมัก ชีวภาพ กับน้ำหนัก พด. น้ำส้มควันไม้ และใช้สารล่อแมลง

การจัดการในระยะติดผล เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการตัดแต่งดอก และเกษตรกรที่ทำสวนลางสาดไม่มีการใช้สารกระตุ้นการออกดอก ไม่มีการตัดแต่งผลและไม่มีการห่อผล

ลางสาดลับแล ผลไม้ขึ้นชื่อของอุตรดิตถ์ รสชาติดี หอมหวาน

6. การเก็บเกี่ยวผลผลิต

แรงงานที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว เป็นแรงงานนอกครัวเรือน ใช้มีดหรือกรรไกรในการเก็บเกี่ยว ต้นลางสาดจะเริ่มมีผลผลิตตั้งแต่ต้นมีอายุ 10 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตของลางสาด จำนวนครั้ง 1 - 3 ครั้งต่อต้น การจำหน่ายผลผลิตจะจำหน่าย ให้กับพ่อค้าต่างถิ่น และขายผลผลิตเอง จำนวนผลผลิต ต่อต้นอยู่ระหว่าง 21 - 50 กิโลกรัม การขายผลผลิตจะไม่มี การคัดคุณภาพของผลผลิต เนื่องจากราคาผลผลิตลางสาด ตกต่ำ

ดัชนีการเก็บเกี่ยว เกษตรกรส่วนใหญ่จะดูจากสีผิว ของลางสาด คือ สีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหมดทั้งช่อ ร่วมกับ การนับอายุผล คือ เริ่มนับจากเมื่อผลเปลี่ยนสีแล้วประมาณ 20 - 25 วัน และดูสีผิวร่วมกับการซึมหรือการอ่อนตัว ของผล โดยทดลองบีบผลเบา ๆ จะรู้สึกนิ่มมือ.

อ้างอิง: ยุพา สุวิเชียร; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม