Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

✓ต้นไม้: ขมิ้นชัน ขุมทองแห่งวงการสมุนไพร สรรพคุณ วิธีใช้

ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่คนไทยนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร โดยพบสารที่สำคัญ คือ เคอร์คูมินอยด์ เป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นยายับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้อาการปวดท้องบรรเทา นอกจากนี้แพทย์ชาวบ้านยังพบอีกว่าเคอร์คูมินอยด์สามารถออกฤทธิ์ต้าน อาการอักเสบของผิวหนังเนื่องจากถูกแมลงกัดด้วย โดยใช้ขมิ้นฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่มีอาการ

ขมิ้นชัน ขุมทองแห่งวงการสมุนไพร

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน มีชื่อสามัญว่า Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่ สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด  แหล่งปลูกขมิ้นในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช

ขมิ้นชัน ขุมทองแห่งวงการสมุนไพร สรรพคุณ แคปซูล วิธีใช้

ขมิ้น จังหวัดกาญจนบุรี

จากการสำรวจพื้นที่ปลูกขมิ้นชันในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่ามีปลูกมากที่อำเภอทองผาภูมิ โดยเริ่มปลูกประมาณเดือน มิถุนายน และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ของทุกปี พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง

โดยขมิ้นที่ปลูก ในจังหวัดกาญจนบุรีเป็นการปลูกเป็นพืชแซมสวนยาง สวนกล้วย สวนส้มโอ หรือตามพื้นที่ว่าง ๆ ข้างบ้าน ข้างทาง เพื่อขุดขายเป็นรายได้เสริม ในแต่ละปี จะปลูกมากหรือน้อยขึ้นกับราคาและความต้องการ ของตลาด เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมีการขายเป็น หัวขมิ้นสด และส่งโรงต้มเพื่อทำเป็นขมิ้นแห้งต่อไป

การขายเป็นขมิ้นสด

ขมิ้นสด รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 6 - 10 บาท ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในแต่ละปี โดยเมื่อรับซื้อ มาแล้วจะมีการนำมาล้างทําความสะอาดเพื่อเอาดินที่ติดมา ออกให้หมด โดยตักหัวขมิ้นใส่ตะกร้าแล้วเอาน้ำฉีดล้างดิน ที่ติดมาออก

หลังจากนั้นก็จะนำมาคัดขนาด แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ หัวขนาดใหญ่จะส่งขายได้ราคากิโลกรัมละประมาณ 20 บาท และหัวขนาดเล็กจะขายได้ราคากิโลกรัมละประมาณ 8 บาท และจะบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม เพื่อส่งขายไปยังตลาด ต่อไป เช่น ตลาดไทย ตลาดสี่มุมเมือง เป็นต้น โดยขมิ้นสุด ที่รับซื้อมา 1 ตัน จะได้หัวใหญ่ประมาณ 300 กิโลกรัม และ หัวขนาดเล็กประมาณ 300 กิโลกรัม ส่วนน้ำหนักที่หายไป จะเป็นส่วนของดินที่ติดมา

การขายให้กับโรงต้มขมิ้น เพื่อทําขมิ้นแห้ง

ขมิ้นสดที่ขุดมาจะถูกนำมาขายที่โรงต้มขมิ้นราคาขาย ก็จะขึ้นอยู่กับตลาดในช่วงนั้น ๆ ราคาจะอยู่ประมาณ 6 - 10 บาท เพื่อเข้าสู่กระบวนการต้มและตากแดดเพื่อบรรจุขายเป็น ขมิ้นแห้งต่อไป จากการสอบถาม คุณเฉลิมพล สนจัย ผู้ดำเนินกิจการโรงต้มขมิ้น ในตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ที่สืบทอดกิจการต่อกันมาจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก จากเดิมในรุ่นพ่อ เป็นโรงต้มขมิ้นขนาดเล็ก แต่เมื่อเขาได้เข้ามาสืบทอดกิจการ

ปัจจุบันได้ขยายโรงต้มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถต้มได้วันละ ประมาณ 30 ตันสด ซึ่งถือว่าเป็นโรงต้มขนาดใหญ่ที่สุดแห่ง หนึ่งในอำเภอทองผาภูมิ

การต้มขมิ้นจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายนของทุกปี โดยกระบวนการต้มขมิ้นจะเริ่มจากการรับซื้อ ขมิ้นสดและนํามาทําการต้มในหม้อเหล็กขนาดใหญ่เส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร และสูงประมาณ 1.2 เมตร โดย หม้อ 1 ใบ สามารถต้มขมิ้นได้ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อครั้ง

ในการต้มครั้งแรกจะใช้เวลา 3 ชั่วโมง เนื่องจากรอให้น้ำเดือด และการต้มในครั้งต่อ ๆ ไปใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หม้อ 1 ใบจะต้มขมิ้นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ไม่มีการเปลี่ยนน้ำแต่จะ เติมน้ำเพิ่มเข้าไปเมื่อน้ำพร่อง โดยเคล็ดลับในการต้มขมิ้นให้ ได้คุณภาพขมิ้นจะต้องสุกพอดีทั่วทั้งเหง้า เพราะถ้าข้างใน ไม่สุกจะทำให้ขมิ้นตากแดดไม่แห้งและเมื่อนำไปเก็บเพื่อส่งขายจะขึ้นรา

เมื่อครบเวลาขมิ้นสุกทั่วทั้งเหง้าก็จะทำการ ตักขึ้นมาตากแดดจนกว่าขมิ้นจะแห้ง ใช้เวลาตากประมาณ 10 - 15 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน เมื่อแห้งดีแล้ว จะนำเหง้าขมิ้นแห้งไปเข้าเครื่องโม่และเป่าลมเพื่อขัดผิวขมิ้น ให้สะอาดขึ้น และมีการคัดสิ่งปลอมปนและขมิ้นที่ ไม่ได้คุณภาพทิ้ง หลังจากนั้นจะนำไปบรรจุถุงกระสอบละ 30 กิโลกรัม เพื่อเตรียมนําส่งขายต่อไป โดยจะได้ราคา กิโลกรัมละ 55 - 60 บาท

จากเดิมราคาและปริมาณการขายในแต่ละปีจะขึ้น อยู่กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ แต่ด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่ ไฟแรงและปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้ คุณเฉลิมพล ได้พยายามขจัดปัญหาการถูกกำหนดราคาและ ปริมาณการขายโดยพ่อค้าคนกลาง ด้วยการนำขมิ้นแห้ง ที่ผลิตได้ไปติดต่อขายตรงให้บริษัทส่งออกขมิ้นแห้งไปยัง ประเทศอินเดีย

ทำให้มีปริมาณการรับซื้อในแต่ละปีที่แน่นอน และมีการทำสัญญาซื้อขาย มีการประกันราคาขั้นต่ำ ทำให้ ปัจจุบันคุณเฉลิมพลสามารถเริ่มสร้างเครือข่ายและรวมกลุ่ม ผู้ปลูกขมิ้นและวางระบบการประกันราคาซื้อขมิ้นสุดให้แก่ เกษตรกรในท้องถิ่นได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบการผลิตขมิ้นและ เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นเป็นอย่างมาก

งานวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว และแปรรูปขมิ้น

ปัจจุบันสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย สนับสนุนให้มีการพัฒนางานวิจัย และการใช้ประโยชน์จาก สมุนไพรของไทย ทั้งในด้านการผลิตเป็นยารักษาโรค และ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า ขมิ้นชันนับเป็น พืชสมุนไพร 1 ใน 6 ของยาบัญชีหลัก และเป็นพืชสมุนไพร ที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้มีการผลิตและแปรรูป

แต่ ปัญหาที่พบจากการผลิต และแปรรูปขมิ้นชันออกจำหน่าย คือ การเก็บรักษาวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิตยังมีการเก็บ รักษาที่ไม่ถูกต้องมีโอกาสเสื่อมคุณภาพได้ง่าย โดยเฉพาะ ขมิ้นชันแคปซูลที่บรรจุถุงพลาสติกที่รัดปากถุงด้วยยางวาง ขายตามร้านค้าทั่วไป เนื่องจากไม่สามารถป้องกันไอน้ำได้ และจะทำให้ผงขมิ้นขึ้นเกิดเชื้อรา และอาจมีการปนเปื้อนของ สารพิษที่สร้างจากเชื้อราได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ ผู้บริโภค

ดังนั้นจึงได้ทําการทดลองศึกษาบรรจุภัณฑ์ และระยะ เวลาที่เหมาะสมในการเก็บรักษาขมิ้นชันผงและขมิ้นชันแคปซูล ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ น้ำมัน หอมระเหย และลดการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา

พบว่า ขมิ้นชันผงและขมิ้นชันแคปซูลเมื่อเก็บในถุงอลูมิเนียมฟอยล์ สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลา 12 เดือน สามารถรักษา ความชื้นของขมิ้นชันผงและขมิ้นชันแคปซูลให้คงที่ไม่แตกต่าง

จากความชื้นเริ่มต้น คือ 12.92 และ 15.72 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ และน้ำมันหอมระเหยไม่เปลี่ยนแปลง จากเดิม โดยมีปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 31.23 และ 25.01 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำมันหอมระเหย 4.5 และ 0.59 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณสารพิษอะฟลาทอกซิน 7.36 และ 1.48 พีพีบี ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ 20 พีพี ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเก็บรักษาขมิ้นชันให้สามารถเก็บ รักษาได้ยาวนาน คงคุณภาพดี และมีความปลอดภัยในการ บริโภค

อ้างอิง: จารุรัตน์ พุ่มประเสริฐ; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม