Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นพริกตุ้มระยอง ลักษณะ เมล็ดพันธุ์ ราคาถูก ซื้อที่ไหน วิธีปลูก?

พริกพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์หนึ่งของประเทศไทย ที่น่าจะเป็นพริกที่มีเอกลักษณ์ที่เป็นตัวของตัวเองไม่ซ้ำกับพริกพันธุ์อื่น ๆ เป็นพริกที่ถูกนำมาใช้ประกอบอาหารในถิ่นที่อยู่ แม้ก่อนหน้านี้จะถูกกลืนหายไปตามเวลาด้วยเหตุจากรูปร่างลักษณะที่ต่างไปจากพริกทั่วไป ไม่เป็นที่นิยมในเชิงการค้า

พริกตุ้ม (พริกตุ้มระยอง)

ปัจจุบันพริกพันธุ์นี้ถูกนำกลับมาให้คนทั่วไปได้รู้ว่ายังมีพริกพันธุ์นี้อยู่ในบ้านเรา โดยพริกที่กล่าวมานี้มีชื่อเรียกตามลักษณะของผลที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า "พริกตุ้ม

พริกตุ้ม พริกตุ้มระยอง รสเผ็ดน้อย ลักษณะ ประโยชน์ วิธีปลูก

หรือบางครั้งอาจจะถูกเรียกว่า "พริกตุ้มระยอง" ที่เป็นถิ่นที่อยู่และการใช้ประโยชน์ของพริกชนิดนี้ที่เป็นพริกพื้นเมืองของจังหวัดระยอง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะพริกตุ้ม

ลักษณะของต้นและการเจริญเติบโตของพริกตุ้มระยองจะคล้ายคลึงกับพริกขี้หนูใหญ่ คือ ใช้เวลาจากเริ่มเพาะเมล็ดจนเริ่มงอก 7 - 10 วัน ใบจริงเป็นรูปหอก ใบสีเขียวเข้ม หลังเพาะเมล็ดประมาณ 4 เดือน จะเริ่มออกดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว (ออกดอกหนึ่งดอกต่อข้อ ซึ่งเป็นลักษณะของพริกสกุล Capsicum annuum)

กลีบดอกมีสีขาวปนม่วง โคนกลีบดอกมีสีม่วงเข้ม แต่ผลของพริกตุ้มจะเป็นผลทรงกลม ผลกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือขนาดพอ ๆ กับมะเขือพวงผลแก่สีเขียวเข้ม ผลสุกสีแดง ผลห้อยลง ก้านผลยาวผิวผลบาง มีเมล็ดอัดแน่นในผล หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ25 - 30 เมล็ด รสเผ็ดน้อย ด้านการเจริญเติบโตพริกตุ้มระยองมีต้นสูงมากกว่า 1 เมตร บางครั้งอาจสูงถึง 1.5 เมตร

ทรงพุ่มของพริกตุ้มค่อนข้างแน่น ข้อถี่ จากการนำมาทดลองปลูกพริกตุ้มระยองให้ผลผลิตสูงเพราะออกดอกและติดผล ทุกข้อ อายุยืน เติบโตได้ดี ทนทานต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชดีพอสมควร ด้วยลักษณะการเจริญเติบโตดีและแข็งแรง ประกอบกับรูปร่างและสีผลที่สะดุดตานี้เองนอกจากปลูกไว้เก็บผลแล้ว ยังสามารถปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับได้ด้วย

วิธีปลูกพริกตุ้ม

การปลูกพริกตุ้มก็ใช้วิธีเดียวกับการปลูกพริกทั่วไปโดยการเตรียมวัสดุเพาะที่อาจจะผสมเองโดยใช้วัสดุ 3 อย่าง คือ ดินดี ขี้เถ้าแกลบ และปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 2:1:1 ผสมให้เข้ากัน ใส่วัสดุปลูกที่ผสมแล้วในภาชนะที่อาจจะเป็นถุงพลาสติกสีดำสำหรับเพาะกล้าขนาดเล็ก หรือใส่ลงในถาดหลุมเพาะกล้า

ทั้งนี้ในปัจจุบันวัสดุเพาะกล้าสำเร็จรูปมีจำหน่ายทั่วไปแล้ว เรียกว่า พีทมอส มีจำหน่ายทั้งแบบถุงขนาดเล็กและเป็นกระสอบ ผู้สนใจอาจใช้พีทมอสแทนวัสดุปลูกที่ผสมเองได้ นำเมล็ดพริกตุ้ม หยอดเมล็ดลงในวัสดุปลูก โดยมีความลึกไม่เกิน 2 เท่าของความกว้างของเมล็ด (หลักการนี้ใช้ได้กับเมล็ดชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย) ถ้าลึกเกินไปเมล็ดอาจจะงอกช้าหรือไม่งอกเลย กลบดินทับจนมิดเมล็ด วางไว้ในที่ร่มพอมีแสงแดดเล็กน้อย อย่าให้มืดจนเกินไป

ถ้าสามารถทำชั้นโปร่งหรือมีชั้นที่ยกสูงจากดินให้วางไว้บนชั้น ใช้บัวรดน้ำชนิดรูฝอยเล็ก รดครั้งแรกให้ชุ่มจนน้ำไหลล้นออกจากรูระบายน้ำข้างถุงหรือก้นกระบะเพาะกล้า ให้น้ำวันละครั้งต่อไปทุกเช้า จากนั้น 7 -10 วัน จะเห็นว่าเมล็ดจะเริ่มโผล่ใบเลี้ยงให้เห็น

ระหว่างนี้จนถึงระยะเวลาก่อนย้ายกล้าควรจะมีการให้ปุ๋ย 1 - 2 ครั้งครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าแล้ว 7 - 10 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 ประมาณ1 ช้อนชา ผสมน้ำ 20 ลิตร รดหลังจากให้น้ำประจำวันเสร็จครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ย 46-0-0 และ 16-16-16 อย่างละ 1 ช้อนชาแล้วทำเช่นเดียวกับการให้ปุ๋ยครั้งแรก จากนั้นประมาณ 1เดือน หรือเมื่อต้นกล้าพริกมีใบจริง 5 - 7 ใบ เป็นเวลาที่ต้องย้ายกล้าพริกลงภาชนะที่ใหญ่ขึ้นหรือปลูกลงแปลง

การย้ายต้นกล้าพริก

เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การย้ายกล้าประสบความสำเร็จทำได้ง่าย และต้นกล้าเติบโตต่อเนื่องเป็นต้นพริกที่แข็งแรงคือก่อนย้ายกล้า 1 - 2 วัน ควรงดหรือลดปริมาณการให้น้ำให้เหลือครึ่งหนึ่งจากเดิม วิธีการนี้เรียกว่า hardening เป็นการช่วยให้ต้นกล้ามีการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบกระเทือนจากการย้ายกล้าที่รากของพืชส่วนใหญ่จะถูกตัดขาด

hardening จะทำให้พืชไม่ช็อกและเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และยังจะทำให้สามารถดึงต้นกล้าออกจากภาชนะเดิมได้ง่ายขึ้นด้วย รากจะขาดน้อยลง

การใช้ประโยชน์ พริกตุ้ม

พริกตุ้มระยองมีการนำไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น โดยการนำผลระยะกึ่งอ่อนกึ่งแก่ที่เด็ดก้านผล แล้วนำทั้งผลใส่ลงในแกงเผ็ดพื้นบ้าน เมื่อใช้พริกตุ้มระยองใส่ลงในแกงจะเพิ่มรสสัมผัสของความกรอบของพริกผลกลมเล็ก ๆ ทั้งผลที่แทรกด้วยความกลมกล่อมของน้ำแกง นับเป็นความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่หากได้นำมาพัฒนาประชาสัมพันธ์น่าจะเป็นอีกเรื่องราวของอาหารไทยประจำถิ่นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เพิ่มรายได้และความภาคภูมิใจให้กับท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของพันธุ์

ก่อนหน้านี้พริกตุ้มอาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักหรือมีใครเคยเห็นมากนัก ด้วยลักษณะที่แตกต่างจากพริกพันธุ์การค้าและคนปลูกก็ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ อาจจะนำมาใช้ประกอบอาหารบ้าง แต่ปัจจุบัน ผู้นำท้องถิ่นและคนในชุมชนตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เล็งเห็นคุณค่าของพืชพันธุ์พื้นบ้านและต้องการฟื้นฟูและอนุรักษ์สู่คนรุ่นต่อไป

กอปรกับนักวิจัยต้องการขยายฐานพันธุกรรมพริกที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต ซึ่งผู้เขียนต้องขอขอบคุณ นายสมศักดิ์ อิทธิพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง (ในขณะนั้น) เป็นอย่างสูง สำหรับต้นพริกตุ้มระยองที่ช่วยสืบเสาะหามาจากเกษตรกรในจังหวัดระยองหลังจากผู้เขียนเพียรพยายามตามหาพริกพันธุ์นี้มากว่า 3 ปี ในฐานะที่เป็นนักปรับปรุงพันธุ์คนหนึ่ง ผู้เขียนได้ทดลองนำพันธุ์พริกตุ้มระยองผสมข้ามกับพริกอีกพันธุ์ที่มีผลสีม่วง ได้พริกลูกผสมที่มีรูปลักษณ์ที่น่าสนใจไม่น้อย

อย่างไรก็ตามพริกลูกผสมดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ จะต้องมีการพัฒนาต่อเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงใจผู้นำไปใช้ประโยชน์ที่อาจจะไม่ใช่คนทั้งประเทศ แม้แค่เพียงบางกลุ่มก็คุ้มค่ากับการวิจัยพัฒนาแล้วเพราะพันธุ์เพียงหนึ่งพันธุ์ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของคนทุกคนได้

รายละเอียดเพิ่มเติม