ต้นพุดชมพู ดอกพุดของไทย ลักษณะ ออกดอกช่วงเดือนไหน?
พุดชมพู คืออะไร?
พุดชมพู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Kopsia rosea D.J.Middleton จัดเป็นพืชในสกุล Kopsia อยู่ในวงศ์โมก (Apocynaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มไม้ดอก
ชื่อไทย ที่เป็นชื่อทางการ ของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า "พุดชมพู" (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)
ต้นพุดชมพู เป็นพืชที่มีความจำเพาะกับระบบนิเวศเขาหินปูน ในประเทศไทย แหล่งที่พบในป่าดิบบนเขาหินปูน ที่ความสูง 50-100 ม. จากระดับทะเล
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของพุดชมพู พบกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา สตูล และกระบี่ ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย
พุดชมพู ออกดอกช่วงเดือนไหน
ต้นพุดชมพู ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม เป็นผลประมาณเมษายนถึงพฤษภาคม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพุดชมพู
- ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น สูงประมาณ 10 ม.
- ลำต้น: กิ่งก้านเกลี้ยง มีช่องอากาศหรือไม่มี
- ใบ: ใบเดี่ยว หนา เกลี้ยง รูปรี กว้าง 2.3-11 ซม. ยาว 4.7-27.5 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนแหลมหรือรูปลิ่ม ขอบเรียบ เส้นใบด้านบนบุ๋ม เส้นแขนงใบข้างละ 8-20 เส้น
- ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน ก้านช่อดอกยาว 0.4-4.5 ซม. ดอกเกลี้ยงหรือมีขนประปราย กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน กว้าง 1.4-2.2 ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม. ปลายมน กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน มีแต้มชมพู กว้าง 2.0-2.7 ซม. หลอดกลีบยาว 24-45 มม. ส่วนบนมีขนสั้นนุ่ม แฉกกลีบรูปไข่กลับ เกลี้ยง กว้าง 9.5-16.5 ซม. ยาว 15-31 ซม. เกสรเพศผู้ยาว 22.4-35 มม. อับเรณู กว้าง 0.6-0.8 มม. ยาว 2.2-2.6 มม. ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง ยาว 0.7-1.1 มม. จานฐานดอกเกลี้ยง รูปใบหอก ปลายแหลม ยาว 0.8-2.0 มม. รังไข่เกลี้ยง ยาว 1.2-2.5 มม. ก้านยอดเกสรเพศเมียยาว 22.5 มม. ยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1.2 มม.
- ผล: ผลรูปเคียว กว้าง 4.5-5.5 มม. ยาว 15-18 มม. มีตะขอปลายทู่ ยาว 2.5-4.5 มม.