Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: กระทุ่ม (กระทุ่มนา) ลักษณะเป็นยังไง ดูยังไง สรรพคุณ?

กระทุ่ม (กระทุ่มนา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

กระทุ่มนา ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mitragyna diversifolia (Wall. ex G.Don) Havil. จัดเป็นพืชในสกุล Mitragyna อยู่ในวงศ์เข็ม (Rubiaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Mamboga capitata Blanco
  • Mitragyna javanica Koord. & Valeton
  • Nauclea adina Blanco
  • Nauclea diversifolia Wall. ex G.Don
  • Stephegyne diversifolia (Wall. ex G.Don) Brandis
  • Stephegyne parvifolia Vidal
  • Stephegyne tubulosa Fern.-Vill.

ชื่อไทย

ต้นไม้: กระทุ่ม (กระทุ่มนา) ลักษณะเป็นยังไง ดูยังไง สรรพคุณ

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า กระทุ่มนา (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

รายละเอียดเพิ่มเติม

ต้นกระทุ่มนา ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า ตุ้มแซะ ตุ้มน้อย ตุ้มน้ำ (ภาคเหนือ), กระทุ่ม กระทุ่มนา กระทุ่มน้ำ กระท่อมขี้หมู (ภาคกลาง), กระทุ่มดง (กาญจนบุรี), ท่อมขี้หมู (สงขลา), ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี), โทมน้อย (เพชรบูรณ์), กระทุ่ม ท่ม (นครราชสีมา), ถ่มพาย (เลย), ถ่ม ท่ม ท่มนา ท่มน้ำ ท่มทาม ท่มน้อย (อีสาน), กะตัม (เขมร-อ.ท่าตูม สุรินทร์), กะทม ตำ (ส่วย-สุรินทร์) และมีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า -

นิเวศวิทยา

ต้นกระทุ่มนา ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่โล่งแจ้งในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง ทุ่งนา และป่าบุ่งป่าทาม หรือในพื้นที่แอ่งกระทะในป่าผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของกระทุ่มนา พบได้ง่าย ทั่วประเทศ ต่างประเทศพบในเมียนมาร์ จีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม กัมพูชา คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะชวา และฟิลิปปินส์

กระทุ่มนา ออกดอกเดือนไหน

ต้นกระทุ่มนา ออกดอกช่วงเดือน มิถุนายน - กันยายน ผลแก่เดือนกันยายน - ธันวาคม

ต้นไม้: กระทุ่ม (กระทุ่มนา) ลักษณะเป็นยังไง ดูยังไง สรรพคุณ Mitragyna diversifolia

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกระทุ่มนา

  • ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น สูง 8-15 ม.
  • ลำต้น: เปลือกสีน้ำตาลอ่อน แตกร่อนเป็นแผ่นบางๆ ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก และใบอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ยอดมีหูใบหุ้มยอดรูปนิ้วหัวแม่มือแบน ยาว 1-1.5 ซม.
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รีกว้าง หรือรูปขอบขนาน ยาว 6-12 ซม. ปลายใบมน ขอบใบเรียบ โคนใบมน-เว้ารูปหัวใจ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างเกลี้ยง-ขนประปราย บางครั้งพบกระจุกขนสั้นที่ง่ามเส้นกลางใบกับเส้นแขนงใบ มีเส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. เกลี้ยง-มีขน
  • ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน (dichasium) มี 3 ช่อดอกย่อย ออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกย่อย มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นทรงกลม เมื่อดอกบานช่อดอกจะกว้าง 1.5-2 ซม. กลีบดอก เป็นหลอดยาว 3-4 มม. ปลายแยก 5 แฉก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอม แต่ละช่อดอกย่อยมีใบประดับ 1 คู่รองใต้ช่อ มีลักษณะคล้ายใบที่ลดรูป ยาว 2-5 ซม. ก้านช่อดอกย่อยยาว 1-2 ซม. ก้านช่อดอกย่อยคู่ข้างยาว 4-6 ซม.
  • ผล: ผลอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทรงกลม กว้าง 1.3-1.8 ซม. ผลย่อยรูปไข่ ยาว 5 มม.

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของกระทุ่มนาด้านสมุนไพร

  • แก่น ต้มน้ำดื่มแก้กินของผิดสำแดง หรือแก้เบื่อเมา
  • แก่น ต้มน้ำดื่มรักษาอาการปวดเมื่อย, เปลือกท่ม+กาฝากไม้ท่ม ต้มน้ำดื่มแก้ตกเลือดหรือบำรุงแม่ลูกอ่อน
  • แก่นท่ม + เครือเขาแกลบ (Ventilago sp.) + แคบิด + รากหูกวาง (Terminalia catappa) ต้มน้ำดื่มบำรุงแม่ลูกอ่อนหลังคลอดบุตร
  • เปลือก เข้ายาอื่นๆ ต้มน้ำดื่มบำรุงแม่ลูกอ่อน
  • แก่น ต้มน้ำดื่มบำรุงเลือด
  • แก่น แช่น้ำดื่มเป็นยาเย็น แก้ท้องเสีย
  • ใบ มีรสขม คั้นน้ำดื่มแก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แต่ดื่มมากจะเมา

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิง ไม้ทำฟืน หรือเผาถ่าน เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนและเบา แต่เหนียว ไม่ทนทานต่อการผุพัง ใช้แปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ หรืองานก่อสร้างที่อยู่ในร่ม เนื้อไม้เบาและเหนียว นิยมใช้ทำแอกไถนา ทำหัวหมูไถนา (ผาน) หรือทำไม้ตีกลองเส็ง

ไม้ใช้ทำตีนกระติ๊บข้าว กิ่งสดและพุ่มใบ เอามามัดรวมกันจมลงในน้ำ ล่อกุ้งฝอยให้มาอยู่ แล้วเอาสวิงช้อนจับ ใบ เป็นอาหารของแมลงอีนูน ถ้านำแมลงอีนูนมากินจะมีรสขม ต้องนำแมลงไปแช่น้ำก่อนคั่วกิน

ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกทรงกลมสวยงามและมีกลิ่นหอม ทำเป็นตุ้มหูประดับ

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม