Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

มันขี้หนู พืชเศรษฐกิจภาคใต้ ลักษณะ ประโยชน์ วิธีปลูกและการดูแลรักษา วิธีการกิน?

มันขี้หนู เป็นพืชพวกเดียวกับมินต์และกะเพรา จัดอยู่ในวงศ์ Lamiaceae ด้วยเหตุนี้ทุกส่วน ของลำต้นจึงมีกลิ่นหอมระเหย โดยเฉพาะส่วนใบเมื่อนำมาขยี้จะได้กลิ่นหอมชัดเจน

มันขี้หนูมีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Plectranthus rotandifolius แต่บางครั้งก็พบว่ามีการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์อื่น เช่น Solenostemon rotundifolius และ Coleus rotandifolius อาจเพราะเป็นพืชที่มีความหลากหลาย ทางพันธุกรรม การแยกลักษณะทางสัณฐานวิทยาไม่ชัดเจน

มันขี้หนู... พืชอัตลักษณ์ของภาคใต้

มันขี้หนู มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปแอฟริกา มีการนำเข้ามาปลูกและแพร่กระจายเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงทางภาคใต้ของประเทศไทย

มันขี้หนู พันธุ์ HP09 ลักษณะ ประโยชน์ วิธีปลูก การดูแลรักษา

มันขี้หนูเป็นพืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ราคาถูกและ ปลอดภัย สำหรับในทวีปแอฟริกามันขี้หนูมีความสำคัญ ในแง่พืชด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร เช่น ในประเทศไนจีเรีย มันขี้หนูเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญในช่วงขาดแคลน สำหรับประชาชนและถือเป็นความมั่นคงทางด้านอาหาร ในครัวเรือน สามารถรับประทานเป็นอาหารหลักหรือ ปรุงร่วมกับพืชอื่นได้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ประโยชน์ มันขี้หนู

ในหัวสด 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำตาลรีดิวซ์ 26 มิลลิกรัม โปรตีน 13.6 - 14.6 มิลลิกรัม ไขมัน 1.2 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 1.6 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม แคลเซียม 29 มิลลิกรัม วิตามินเอ 13.6 มิลลิกรัม และวิตามินซี 10.3 มิลลิกรัม

ผู้เขียนเคยนำหัว มันขี้หนูสดมาปั่นแล้วบีบเอาน้ำเพื่อหาปริมาณของแข็งที่ละลาย ในน้ำหรือค่าความหวาน พบว่ามีค่าระหว่าง 5-7 องศาบริกซ์ นอกจากนี้มันขี้หนูยังมีสารทุติยภูมิจำนวนมากอยู่ในหัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการรักษา และมีสรรพคุณทางยา ในใบมันขี้หนูยังมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Escherichia coli

สำหรับภาคใต้มันขี้หนูเป็นพืชอัตลักษณ์ที่สำคัญ ชนิดหนึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันขี้หนูโดยวิถีวัฒนธรรม การเกษตรที่สืบต่อกันมา เนื่องจากปลูกและดูแลรักษาง่าย ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์และเพาะปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อประดับตกแต่งสถานที่ได้

มันขี้หนู วิธีปลูก การดูแลรักษา

ในพื้นที่ภาคใต้ สามารถพบเห็นมันขี้หนูปลูกแซม อยู่ในระบบการปลูกพืชหลักทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และ ไม้ยืนต้นอื่น ๆ เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างระหว่างแถว ขณะรอพืชหลักโต ผลผลิตที่ได้นอกจากบริโภคภายใน ครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ด้วยการ คมนาคมที่สะดวกและการนิยมซื้อขายทางตลาดออนไลน์ ทำให้มันขี้หนูเป็นพืชที่นิยมบริโภคกันโดยแพร่หลายมากขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีปลูกมันขี้หนู และการดูแลรักษา

มันขี้หนูเป็นพืชล้มลุกที่ลำต้นอวบน้ำ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตชอบแสงแดดจัด ควรปลูกในที่ดอน การระบายน้ำดี หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่น้ำท่วมขัง การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือ

  1. ใช้หัวพันธุ์ที่งอกแล้ว กระตุ้นหัวพันธุ์ให้งอกโดยการ วางแผ่ไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ประมาณ 2 - 3 เดือน หัวพันธุ์จะเริ่มทยอยงอก
  2. การปักชำยอด ใช้ยอดพันธุ์ยาวประมาณ 4 - 5 นิ้ว ปักชำในวัสดุปลูก วางในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก รดน้ำ และดูแลรักษาจนอายุประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ สามารถย้าย ลงแปลงปลูกได้

การเจริญเติบโตของมันขี้หนูแผ่เลื้อยไปในแนวราบ มากกว่าจะพัฒนาด้านความสูง โดยทั่วไปมันขี้หนูจะมี ความสูงระหว่าง 15 - 30 เซนติเมตร หลังจากอายุ 3 เดือน การเจริญเติบโตจะเกิดในแนวราบ ทรงพุ่มสามารถแผ่กระจายไปได้ไกล

มันขี้หนู เริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ 4-5 เดือน ลักษณะเป็นกลุ่มดอกเกิดอยู่บนก้านอันเดียวกัน ลักษณะ เป็นช่อดอกเชิงลด มันขี้หนูสร้างหัวขนาดเล็กในดินเพื่อ สะสมอาหาร เป็นพืชที่ดูแลรักษาง่าย

การปักชำยอด มันขี้หนู

การปลูกและดูแลรักษา ใช้หัวพันธุ์ที่งอกแล้วหรือ ยอดที่ปักชำ จำนวน 2 หัวหรือยอดต่อหลุม ระยะปลูก 1x1 เมตร ใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเกรด 13-13-21 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 เมื่อมันขี้หนูอายุ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยเกรดและอัตราเดียวกัน หลังใส่ปุ๋ยให้กลบดินพูนโคน

รายละเอียดเพิ่มเติม

โรคและศัตรูพืช มันขี้หนู

มันขี้หนู มีโรคและศัตรูพืช รบกวนน้อย เช่น

  • โรคลำต้นเน่า ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี ไอโพรไดโอนฉีดพ่นลำต้นและทรงพุ่ม
  • โรคหัวพูด หรือ โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอย มีอาการสำคัญคือ อาการ หัวปุ่มปมเนื่องจากไส้เดือนฝอยเจาะดูดน้ำเลี้ยงปล่อยน้ำย่อย ไปย่อยผนังเซลล์ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นมา ทำให้ เกิดพองขึ้นเป็นปุ่มปม นอกจากนี้ยังเป็นช่องเปิดที่ทำให้ เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าทำลาย ส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย เกษตรกรควรคัดเลือกหัวพันธุ์ก่อนปลูก หลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำ ที่เดิม และหมั่นทำลายวัชพืชอาศัย เช่น สาบม่วงและถั่วลาย แต่อย่างไรก็ตามการทำลายจากไส้เดือนฝอยหลีกเลี่ยง ได้ยาก เนื่องจากตัวเชื้ออาศัยอยู่ในดินที่โดยทั่วไปไม่มี การตรวจหาปริมาณเชื้อก่อนปลูก

มันขี้หนูเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่ออายุ 7 - 8 เดือน สังเกตได้จากอาการลำต้นเหลืองหรือต้นโทรม พอจําแนก รูปร่างลักษณะหัวได้สามแบบคือ ทรงกระสวย หัวทรงกระบอก และหัวทรงกลม หัวมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผิวเปลือกสีดำ น้ำตาล หรือสีม่วง

ช่อดอกของมันขี้หนู

ก่อนนำไปรับประทานต้องปอกหรือ ขูดเปลือกออกจะมีสีขาว ขาวนวล หรือขาวอมม่วง ขึ้นอยู่ กับพันธุ์ มันขี้หนูนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง โดย ทั่วไปนิยมใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้ม แกงคั่ว แกงกะทิ แกงไตปลา รับประทานแบบต้มจิ้มเกลือหรือน้ำตาล

รายละเอียดเพิ่มเติม

คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์

ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ได้ศึกษาวิจัยเพื่อคัดเลือกพันธุ์ มันขี้หนูตามโครงการปรับปรุงพันธุ์มันขี้หนูปี 2561 2564 ผลการประเมินในขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกร สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ HP09 ที่มีศักยภาพ ในการให้ผลผลิต 3,017 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตที่จำหน่ายได้ (หัวขนาดใหญ่กลาง) สูงสุดเฉลี่ย 1,840 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ควนเนียง1 ที่เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ที่มีผลผลิต 2,093 กิโลกรัมต่อไร่ และมีผลผลิตที่จำหน่ายได้ 1,294 กิโลกรัมต่อไร่

โดยทั่วไปผลผลิตหัวขนาดใหญ่ และหัวขนาดกลาง เป็นหัวที่ใช้บริโภคหรือจำหน่าย ส่วนหัวขนาดเล็ก มักทิ้งไว้ในแปลงปลูกหรือเกษตรกรมักนำมาใช้เป็นหัว พันธุ์ในปีต่อไป

มันขี้หนู เป็นพืชที่มีองค์ความรู้น้อยการศึกษาวิจัย ยังขาดอีกหลายมิติ ในอนาคตควรมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตในแปลงปลูก การศึกษาวิจัยด้าน การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า มีรายงานว่า แป้งฟลาวมันขี้หนู เป็นแป้งที่มีปริมาณโปรตีนต่ำ อมิโลสต่ำ ความหนืดแป้งสุกต่ำ เหมาะที่จะทำผลิตภัณฑ์ประเภทกวน

มันขี้หนูสามารถนำมาผลิตเป็นแป้งฟลาวได้โดยมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก แป้งฟลาวมันขี้หนูมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์ ประเภทเบเกอรี่ เช่น เค้ก แพนเค้ก บราวนี่ ทองม้วน ได้โดยไม่ต้องใช้แป้งสาลีเลย จึงเหมาะกับผู้บริโภคที่แพ้ กลูเตน (Gluten) ได้ผลการศึกษาทำให้เกิดทางเลือกในการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายขึ้น

การแปรรูปยังช่วยยืดอายุ ให้สามารถรับประทานได้ทุกฤดูกาล มันขี้หนูประกอบ อาหารได้เหมือนมันเทศและมันฝรั่งทั่วไป แต่ด้วยเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มาก ทำให้องค์ความรู้น้อย “การศึกษาวิจัยพืชนี้จึงช่วยรักษาเสถียรภาพของสินค้า เกษตรบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยขับ เคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนพื้นถิ่นหรือเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สามารถ พึ่งพาตนเองได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน”

รายละเอียดเพิ่มเติม