Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ศัตรูพืช: การตรวจหาโรคกุหลาบ ไรกุหลาบ แมลงศัตรูกุหลาบ?

กุหลาบ (Rose : Rosa spp.) มีต้นกำเนิด จากทวีปเอเชีย เป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมปลูก มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก การนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน ประดับบ้านหรือ สถานที่ นำไปสกัดน้ำหอม และเป็นส่วนประกอบ ของสปา ส่งผลให้มียอดขายสูงมากเป็นอันดับ แรก ๆ ของไม้ตัดดอก

การตรวจศัตรูพืช กุหลาบตัดดอก

ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,000 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ จังหวัด ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี กาญจนบุรี และตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ 

การตรวจหาโรคกุหลาบ ไรกุหลาบ แมลงศัตรูกุหลาบตัดดอก

เนื่องจาก อ.พบพระ จ.ตาก มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

รายละเอียดเพิ่มเติม

การผลิตกุหลาบในประเทศไทยยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้กำลังการผลิตที่มีไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้ากุหลาบจากต่างประเทศ เช่น ราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐโคลัมเบีย สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม สาธารณรัฐอินเดีย เอธิโอเปีย สาธารณรัฐ โดมิติกัน เอกวาดอร์ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อมูล การนำเข้ากุหลาบตัดดอกผ่านด่านตรวจพืชเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีปริมาณการนำเข้าระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2556 รวม 7,171,090 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 232,530,898 บาท

การนำเข้าดังกล่าวอาจมีโอกาส ที่ศัตรูพืชหรือพาหะติดเข้ามาแพร่กระจายหรือระบาด ในประเทศไทย ทำความเสียหายให้กับระบบการเพาะปลูก รวมทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและเนื่องจากศัตรูพืชที่เข้า ทำลายกุหลาบมีหลากหลายชนิด จึงต้องมีการศึกษาชนิด ศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับกุหลาบตัดดอกนำเข้าจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เพื่อให้ได้มาของข้อมูลศัตรูพืชและพาหะ ที่ติดเข้ามากับกุหลาบตัดดอกมาพิจารณากำหนดเงื่อนไข และข้อปฏิบัติการนำเข้าของกุหลาบตัดดอกจากสาธารณรัฐ ประชาชนจีนซึ่งอาจมีศัตรูพืชชนิดเดียวกันหรือไม่เคยมี รายงานการปรากฏภายในประเทศ

บทบาทของด่านตรวจพืช

การปฏิบัติงานของด่านตรวจพืช เป็นการควบคุม กำกับ ดูแลการเคลื่อนย้ายพืช ศัตรูพืชพาหะ รวมถึงปัจจัยการผลิต โดยมีภารกิจหลักป้องกันมิให้ศัตรูพืชที่สำคัญจากแหล่งหนึ่งไป ยังอีกแหล่งหนึ่ง ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ มิให้แพร่ระบาดระหว่างประเทศและเข้ามาในราชอาณาจักร

ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายสินค้าพืชและผลิตผลพืชเป็นไปด้วย ความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเคลื่อนย้ายได้ในปริมาณ มาก ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของศัตรูพืชและพาหะ ที่ยังไม่มีรายงานการปรากฏในราชอาณาจักรไทย ซึ่งหากศัตรู พืชที่สำคัญเหล่านี้เข้ามาและแพร่ระบาด ก่อให้เกิดผลกระทบ ทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงในพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำ รายได้สูง เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ยาสูบ มันสำปะหลัง ยางพารา ถั่วต่าง ๆ ไม้ผล ไม้ดอกและไม้ประดับ ดังนั้นการกักกันพืช จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องคุ้มครองพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ ให้ปราศจากศัตรูพืช

ศัตรูกุหลาบที่สําคัญ

แมลงศัตรูกุหลาบ ได้แก่

  1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก วางไข่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอก และอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือ ในช่วงฤดูหนาว
  2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่ อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิด ทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบ ทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็น ได้ชัดเจน
  3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของแมลงวันบางชนิด หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือ ต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย
  4. แมลงปีกแข็ง หรือ ด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำ และสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร ออกหากิน ในเวลากลางคืนระหว่าง 1 – 3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า
  5. ผึ้งกัดใบ จะกิดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคม ๆ เป็นรูปโค้ง
  6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด ลำตัวขนาดเล็ก มีการ ระบาดในฤดูร้อน ลักษณะตัวเต็มวัยขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาล ถึงดำ ตัวอ่อนสีขาวนวล วางไข่ตามกลีบดอกชั้นนอก ดอก ที่ถูกทำลายจะบิดเบี้ยวไม่บานและมีรอยไหม้
  7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูด การเคลื่อนที่ช้าเข้า ทําลายยอดอ่อนหรือใบอ่อน ตามง่ามใบที่อ่อนทำให้ใบหงิก และยอดชะงักการเจริญเติบโต แมลงชนิดนี้ลักษณะมีปุยสีขาว ที่เกิดจากสารขี้ผึ้งคลุมตัว สามารถเห็นได้ชัดเจน
  8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดย ดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของ กุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวจะมีเปลือกหุ้ม หนา ทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก
  9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณ ส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น
  10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่แมลง ตัวมี ขนาดเล็กมาเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและ ดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฏเป็นจุดสีเหลืองซึ่ง มองเห็นได้บนหลังใบ

ไรศัตรูกุหลาบ

ไรศัตรูกุหลาบ ที่สำคัญในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ

1. ไรสองจุด (Tetranychus urticae Koch)

ตรวจพบ บริเวณใต้ใบ เนื่องจากตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณใบที่ถูกทำลายจะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็ก ๆ กระจาย ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาวเล็ก ๆ เหล่านี้จะ ค่อย ๆ แผ่ขยายติดต่อกันเป็นบริเวณกว้าง จนทำให้ทั่วทั้งใบ มีลักษณะสีเหลืองซีด ใบร่วง สำหรับประเทศไทย สามารถ พบไรสองจุดในแถบที่ราบเชิงเขาหรือเทือกเขาที่มีภูมิอากาศ หนาวเย็น เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง เป็นต้น

2. ไรแดงหรือไรแมงมุมคันซาวา (Tetranychus kanzawai Kishida)

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรชนิดนี้ ชอบดูดทำลายอยู่บริเวณใต้ใบ กุหลาบที่ถูกไรชนิดนี้ดูดทำลาย ในระยะแรกจะมีรอยประสีขาวเป็นจุดเล็ก ๆ ปรากฏขึ้น ที่บริเวณหน้าใบ ต่อมาจุดประสีขาวนี้จะค่อย ๆ แผ่ขยายออก เป็นบริเวณกว้าง จนทำให้กุหลาบทั้งใบมีอาการขาวซีด ใบ จะค่อย ๆ เหลือง และแห้งหลุดร่วงไป ถ้าการทำลายยังคง ดำเนินอยู่ต่อไปอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง อาจมีผลทำให้กุหลาบ ทั้งต้นทิ้งใบและแห้งตายเหลือแต่กิ่ง

โรคศัตรูกุหลาบ

  1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุด กลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจลุกลามมาที่กิ่ง ด้วย ระบาดมากในฤดูฝน
  2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อน และดอกอ่อน มีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้ง ทำให้ส่วนของ พืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาด มากในฤดูหนาว
  3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อรา โดยจะเข้าทำลายแผล ที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไป เรื่อย ๆ ตามกิ่งก้าน ทำให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด
  4. โรคใบจุดสีน้ำตาล หรือ โรคตากบ เกิดจาก เชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีน้ำตาลขนาด 4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วงแดง ระบาดมากในฤดูฝน
  5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการ จะปรากฏให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือง หากพบว่า ต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย

การปฏิบัติงานตรวจศัตรูพืชนําเข้า

การตรวจศัตรูพืชเพื่อจำแนกชนิดศัตรูพืชกุหลาบ ตัดดอก เบื้องต้นพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องศึกษาและ หาความรู้เรื่องชนิดของศัตรูพืช ลักษณะการเข้าทำลาย และร่องรอยการทำลาย จากนั้นดำเนินการเก็บตัวอย่าง ดอกกุหลาบตามหลักเกณฑ์ ISPM No.31 โดยการสุ่ม ตัวอย่างจากตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อนำตัวอย่างกุหลาบ ตัดดอกที่ได้มาตรวจหาศัตรูพืชและตรวจวินิจฉัยศัตรู พืช ดังนี้

1. การตรวจศัตรูพืช

นำตัวอย่างที่สุ่มได้ตรวจเบื้องต้น แกะวัสดุที่หุ้มห่อ ออกและสังเกตร่องรอยการเข้าทำลายของศัตรูพืชบนดอก ผิวใบ มีรอยเจาะหรือร่องรอยการทำลายของไร แมลงศัตรูพืช และโรคพืช หรือมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ ติดมา เช่น เมล็ดวัชพืช จากนั้นนำช่อกุหลาบเคาะกับมือเพื่อให้ศัตรูพืชที่เกาะอยู่หลุด ออกมา

โดยศัตรูพืชที่พบ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรสองจุด และไรแดง ตรวจใต้ใบกุหลาบตัดดอกเพื่อดูร่องรอยการทำลาย หากเป็นไรสองจุดและไรแดงตรงบริเวณเส้นกลางใบปรากฏ สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งเป็นร่องรอยการทำลาย และมีไรทั้งระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ ทำการเด็ดกลีบดอกเพื่อตรวจหาศัตรูพืชที่เข้าทำลายในดอก เช่น หนอนเจาะดอก หนอนเจาะสมอฝ้าย กรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยศัตรูพืชขั้นต้น ได้ให้เตรียมตัวอย่างเพื่อส่งกลุ่มอนุกรมวิธาน หรือกลุ่มวิจัย กักกันพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

การตรวจหาแมลงศัตรูพืช (insect pest) และไร (mite pest) มีวิธีการตรวจ 2 แบบ คือ

การตรวจศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยตาเปล่า นำตัวอย่าง ที่สุ่มได้ตรวจเบื้องต้นจากการสังเกตร่องรอยการเข้าทำลาย ของศัตรูพืชบนดอก ผิวใบ มีรอยเจาะหรือร่องรอยการทำลาย ของไรและแมลงหรือมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ

การตรวจศัตรูพืชภายใต้กล้อง ได้แก่ แว่นขยาย ตั้งโต๊ะ (Magnifying Lamp) กล้องสเตอริโอ (Stereo Microscopes) หรือกล้องจุลทรรศน์ (Compound Micro Scopes) โดยนำตัวอย่างกุหลาบตัดดอกมาตรวจดูลักษณะ ใบ กลีบใบ ก้านดอก และเด็ดกลีบออกเพื่อตรวจดูภายใน ดอก เนื่องจากอาจมีแมลงหรือไรอาศัยอยู่ภายใน เช่น เพลี้ยไฟ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะดอก ไรศัตรูพืช

เมื่อตรวจพบไข่หรือตัวอ่อนของแมลงและไร จะนำมา เลี้ยงเพื่อนำตัวเจริญวัยจำแนกชนิดหรือส่งวินิจฉัยขั้นละเอียด ดังนี้

1) นำตัวอย่างแมลงที่เก็บรวบรวมได้มาจัดรูปร่าง (set) บนไม้จัดรูปร่าง (setting board) ตัวอย่างแมลง โดย ใช้เข็มไร้สนิมปักบริเวณด้านหน้าตรงมุมของปีกขวา (บริเวณ มุมที่ปีกจรดกัน) ใช้ปากคีบจัดขาทั้งสามคู่ให้อยู่ในลักษณะ เกาะหรือเดินโดยใช้เข็มหมุดขนาดกลางเป็นตัวยึด ซึ่งส่วนมาก เป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่และเป็นตัวเต็มวัย เช่น ด้วงกุหลาบ ส่วนแมลงที่มีขนาดเล็กให้ติดลงบนกระดาษรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก จัดรูปร่างให้เห็นด้านหลังและด้านข้าง นำไปอบ ให้แห้งในตู้อบตัวอย่างแมลง อุณหภูมิ 50 – 60 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 30-60 วัน ขึ้นกับขนาดของแมลง

2) การทำสไลด์ถาวร

- แมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย นำไปอบให้แห้ง ที่อุณหภูมิ 50 - 60 องศาเซลเซียส เพื่อรอการจำแนกชนิด

การทำสไลด์ถาวรภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ ซึ่งจะทำในไรศัตรูพืชกรรมวิธีคือหยด Hoyer's solution ลงบนกลางสไลด์ 1 หยด ใช้พู่กันหรือเข็มเขียตัวไรลงบนหยุด น้ำยา จัดรูปร่างตัวอย่างไรให้อยู่ในสภาพที่เห็นส่วนต่าง ๆ ได้ ชัดเจนโดยจัดท่าทางของไรให้อยู่ในท่าคว่ำและท่าตะแคงข้าง เพื่อตรวจดูลักษณะต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำแนก เช่น ไรตัวผู้ จะสามารถเห็นอวัยวะเพศ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตาม ชนิด จากนั้นปิดสไลด์ด้วย cover glass ใช้ปากกามาร์คเกอร์ ชนิดเขียนถาวรวงกลมล้อมรอบตัวไร เพื่อจะได้ทราบว่าตัวไร อยู่ตรงจุดไหนของสไลด์แก้วบันทึกชื่อผู้เก็บตัวอย่าง วันที่เก็บ ตัวอย่าง บริษัทนำเข้า shipment ชื่อหรือชนิดศัตรูพืช จากนั้น นำเข้าอบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส (กรณีไม่มีตู้อบ ให้ใช้ที่ปิ้งสไลด์หรือทำที่บึงสไลด์ขึ้นเอง) ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ผนึกขอบ cover glass ด้วยน้ำยาทาเล็บและปิดป้าย บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่เก็บ วันที่ ชื่อผู้เก็บและ พืชอาศัยที่ด้านขวามือของแผ่นสไลด์

การตรวจโรคพืช คือ การตรวจโรคกุหลาบที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคแห้งหรือโรคไหม้ โรคราแป้ง โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โดยมีวิธีการดังนี้

การตรวจกุหลาบตัดดอกด้วยตาเปล่า โดยการ สังเกตลักษณะอาการของโรค เช่น ร่องรอยการทำลายหรือ รอยแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของโรค เส้นใย

การตรวจกุหลาบตัดดอกภายใต้กล้องสเตอริโอ (Stereo Microscopes) หรือกล้องจุลทรรศน์ (Microscopes) หากพบอาการของโรค การทำลาย หรือแผลในกุหลาบตัดดอก เช่น เชื้อราในพื้นผิวดอก ใบ หรือเนื้อเยื่อ โดยอาจพบส่วน ขยายพันธุ์สปอร์ กลุ่มเส้นใยที่เจริญหรืออาการยังไม่พบสปอร์ จะทำการเก็บตัวอย่างชิ้นส่วนของกุหลาบตัดดอกที่มีอาการ โรครา โดยวิธีการ moist Chamber มีขั้นตอนคือ นำชิ้นส่วน ที่แสดงอาการผิดปกติวางลงบนกระดาษที่ชุ่มน้ำ จำนวน 3 แผ่นอยู่ในกล่องพลาสติก จากนั้นนำกล่องพลาสติกขึ้นไปบ่ม เชื้อ (incubate) เมื่อเชื้อเจริญและพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา (Fruiting body) จึงหยดน้ำกลั่นลงในสไลด์และนำเส้นใยและ สปอร์มาส่องดูลักษณะภายใต้กล้องกล้องจุลทรรศน์กำลัง ขยายสูง (Compound microscope) โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุ กำลังขยาย X100

ในกรณีที่ไม่เห็นชิ้นส่วนของเชื้อสาเหตุสามารถวินิจฉัย ได้โดยใช้วิธีตัดขวางส่วนที่เป็นโรค (Crosssection, X-section Freehand section) โดยนำส่วนของพืชที่เป็นโรคตัดเป็นชิ้น สี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีขนาดเล็กกว่าแผ่นกระจกสไลด์แล้วนำมา วางบนแผ่นกระจกสไลด์อีกแผ่นมาวางทับลงบนชิ้นส่วนพืช โดยให้ขอบกระจกสไลด์และขอบของชิ้นส่วนพืชเหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้ใบมีดโกนที่มีความคมหรือมีดผ่าตัดตัดตามขอบสไลด์ให้ ชิ้นส่วนพืชบางที่สุด นำชิ้นส่วนพืชที่ได้มาวางบนน้ำกลั่นหรือ แลกโตฟีนอน (Lactophenol) ที่หยุดไว้บนกระจกสไลด์ปิดด้วย แผ่นปิดสไลด์ (cover glass) ส่องดูลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ กำลังขยายสูง (Compound microscope) โดยใช้เลนส์ใกล้ วัตถุกำลังขยาย X100 บันทึกลักษณะที่พบและนำไปเทียบ กับเอกสารจำแนกเชื้อราและปรึกษานักวิชาการด้านโรคพืช

2. การตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช

- เปรียบเทียบลักษณะของแมลงจากตัวอย่างที่มีผู้ตรวจ วิเคราะห์และวินิจฉัยชนิดถูกต้องแล้ว โดยเปรียบเทียบกับ ตัวอย่างต้นแบบ (type species) ที่เป็นตัวแทนของแมลง ชนิดนั้น ๆ เปรียบเทียบจากรูปภาพ ซึ่งอาจเป็นรูปถ่ายหรือภาพวาด

- ติดต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านอนุกรมวิธานเพื่อจำแนก ชนิด โดยใช้ระบบการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชทางไกล (Remote microscope diagnosis : RMD) และโปรแกรม RmPy Pack ซึ่งพัฒนาโดย Dr.Gary Kong ซึ่งจะเห็นภาพจากกล้องที่ต่อ จากคอมพิวเตอร์เดียวกันกับผู้เชี่ยวชาญทางอนุกรมวิธานหรือ ส่งภาพถ่ายศัตรูพืชทาง E-mail หรือ Application Line หรือ Skype และภายหลังจึงจัดส่งตัวอย่างที่อยืนยันชนิดอีกครั้ง จากนั้นบันทึกรายละเอียดของโรค แมลง และไรศัตรูพืช ที่ตรวจพบ รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่ พบบนส่วนใดของพืช ลักษณะการทำลาย วัน/เดือน/ปี และสถานที่เก็บพร้อม ภาพถ่าย

3. บันทึกข้อมูล

ทำการบันทึกชนิดและปริมาณของศัตรูพืชที่ตรวจพบ จากกุหลาบตัดดอกนำเข้า โดยบันทึกเป็นจำนวนครั้งที่ตรวจ พบในแต่ละ shipment โดยมีรายละเอียดดังนี้ ชนิดพืชที่ นำเข้า (กุหลาบตัดดอก) ชนิดศัตรูที่ตรวจพบ วันที่นำเข้า shipment ที่นำเข้า ชื่อบริษัทผู้นำเข้า และชื่อผู้ตรวจ และให้ บันทึกภาพอาการและลักษณะที่เกิดจากการเข้าทำลายของ เชื้อโรคและศัตรูพืช พบด้วยการตรวจศัตรูพืชด้วยวิธีข้างต้นสามารถใช้เป็นแนวทาง ในการจำแนกชนิดของศัตรูพืชเบื้องต้นได้ โดยทางด้านกักกัน

พืชมีการจำแนกชนิดของศัตรูพืชเพื่อการใช้ดุลพินิจในการ จัดการสินค้าที่มีศัตรูพืชและพาหะปนเปื้อนเข้ามากับสินค้า พืช เช่น กรรมวิธีการทำความสะอาดสินค้ากรณีที่เป็นศัตรูพืช ประจำถิ่นและมีจำนวนไม่มาก หรือ อาจส่งกลับประเทศ ต้นทาง แต่หากตรวจพบศัตรูพืชกักกัน การกำจัดศัตรูพืช กระทำโดยการเผาทำลาย และทำการบันทึกรายละเอียดชนิด ศัตรูพืชกุหลาบเพื่อรายงานสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่อการวินิจฉัยหรือกำหนดมาตรการ การนําเข้าต่อไป

อ้างอิง: แขจรรยา สระแก้ว; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม