✓ต้นไม้: สตรอว์เบอร์รีอินทรีย์ พันธุ์พระราชทาน80 พันธุ์กินสด?

สตรอว์เบอร์รี (Fragaria x ananassa Duch.) เป็นไม้ผลเขตกึ่งร้อน ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ในปี พ.ศ. 2553 โครงการหลวง ได้มีการนำ สตรอว์เบอร์รี สายพันธุ์ใหม่ มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อการค้า คือ สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80

สตรอว์เบอร์รีปลอดภัย นำไปสู่ สตรอว์เบอร์รีอินทรีย์

สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับพระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา 

สตรอว์เบอร์รีอินทรีย์ พันธุ์พระราชทาน80

เป็นพันธุ์รับประทานสด มีลักษณะเด่นคือ ผลสุกมีกลิ่นหอม มีรสหวานรูปร่างของผลสวยงาม และเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

รายละเอียดเพิ่มเติม

ทดลองปลูกที่สถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขาง

สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นสายพันธุ์ที่นําเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่นมาปลูก ซึ่งต้องการอากาศหนาวเย็นมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ต้องปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไปอุณหภูมิเฉลี่ย 16 - 20 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 30 วัน จึงได้นำมาทดลองปลูกที่สถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขางซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกได้ผลดี เนื่องจากมีความสูงประมาณ 1,400 เมตร

สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 มีลักษณะเด่น คือ เมื่อสุกมีกลิ่นหอม และมีรสชาติหวานกว่า ผลมีลักษณะทรงกรวยถึงกลมปลายแหลม น้ำหนักต่อผล 12 - 115 กรัม เนื้อผลแน่นสีแดงสด ลักษณะของใบจะเป็นรูปกลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย สีเขียวปานกลางทรงพุ่มตั้งตรง ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนส และราแป้งได้ดี

จากคำแนะนำของ ดร.ทินน์ พรหมโชติ ในการพิจารณาว่าควรปลูกสายพันธุ์ใดในพื้นที่หนึ่ง ๆ อาจต้องคำนึงถึงลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

  1. การปรับตัว (adaptation) เช่น สภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และการเจริญเติบโต เป็นต้น
  2. ความต้านทานต่อโรคและแมลง (disease or insect resistance) เช่น การใช้พันธุ์ต้านทานให้ตรงกับปัญหาในพื้นที่ปลูก เป็นต้น
  3. ความมุ่งหมายการใช้ประโยชน์ (intended use)เช่น การแปรรูป การจำหน่ายในพื้นที่ และการรับประทานสด เป็นต้น
  4. ช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวผลผลิต (season of ripening) ได้แก่ พันธุ์เบามาก พันธุ์เบา พันธุ์ปานกลาง พันธุ์หนัก และพันธุ์หนักมาก เป็นต้น

การปลูกสตรอว์เบอร์รี

สตรอว์เบอร์รีเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น แต่ต้องการธาตุอาหารสูง มีการระบายน้ำดี การปลูกสตรอว์เบอร์รีที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย เริ่มต้นจากการผลิตไหลให้ปราศจากโรคและแมลง ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง โดยผลิตจากไหลที่มาจากต้นแม่พันธุ์จากโครงการหลวง มาปลูกในดินผสมที่ประกอบด้วย ดินที่ขุดจากป่าดิบชื้น ซึ่งเป็นดินดำมีฮิวมัสสูง ปุ๋ยชีวภาพผสมจากญี่ปุ่น แกลบดำ แกลบดิบขุยมะพร้าว และปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ (ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย) จากนั้นลงปลูกลงในกระถางขนาด 8, 10 นิ้ว ดูแลรักษาให้เจริญเติบโตแตกกอ และออกไหลเพื่อทำการขยายพันธุ์

การปลูกสตรอว์เบอร์รีอินทรีย์ ลงกระถางขนาด 8, 10 นิ้ว

จากนั้นย้ายปลูกลงดิน มี 3 วิธีการ ดังนี้

การปลูกลงดินแบบทั่วไป

ขึ้นแปลงสูง 50 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 4เมตร โรยปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ใช้ส่วนผสมดินสำเร็จที่นำมาใช้กับวิธีกรรมที่ผ่านมาผสมกับชีวภาพจากญี่ปุ่นและดินดำ แกลบดิบ ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ

การปลูกในกระบะไม้ไผ่ยกพื้น

โดยการปลูกบนกระบะที่ทำจากไม้ไผ่ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 40 เซนติเมตร และยกสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1 เมตร แล้วผสมดินปลูก (ส่วนผสมดินผสมสำเร็จสูตรเดียวกันที่ปลูกลงกระถางข้างต้นที่เป็นกระถางแม่พันธุ์)เนื่องจากเป็นแปลงที่ต้องการไหลเพื่อขยายพันธุ์

การปลูกลงกระถางขนาด 8, 10 นิ้ว หรือปลูกลงถุงพลาสติก

ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผสมจากญี่ปุ่น เน้นธาตุฟอสฟอรัสแกลบดำ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ และใช้กาบมะพร้าวรองก้นกระถาง ข้อดีของการปลูกแบบวิธีนี้ คือสามารถดูแลและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก

การป้องกันกำจัดศัตรูสตรอว์เบอร์รี

1. โรคสตรอว์เบอร์รี

การปลูกสตรอว์เบอร์รีของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงรายทุกวิธีการปลูกได้มีการเตรียมดินปลูกที่คลุกด้วยผลิตภัณฑ์ป้องกันโรคพืชทางดินจากกรมวิชาการเกษตร สตรอว์เบอร์รีที่ปลูกจึงยังไม่ประสบปัญหาโรคพืช ซึ่งหากมีปัญหาทางศูนย์วิจัยฯ มีนักวิชาการที่พร้อมช่วยกันแก้ไข

2. แมลงและศัตรูพืช

แมลงและศัตรูพืชของสตรอว์เบอร์รี ที่พบเป็นปัญหา ได้แก่

  • เพลี้ยแป้ง ในพื้นที่หมู่บ้านดอยช้างมัน เป็นแมลงที่ระบาดหนักกับทุกพืช และติดพืชเกือบทุกชนิดแม้แต่ดอกดาวเรืองที่ไม่มีแมลงอื่นกิน และเพลี้ยแป้งที่นี่ยังติดไปถึงต้นไม้ใบหญ้าทั่วไป ทางศูนย์วิจัยฯ ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นหางไหลสกัด และน้ำยาล้างจาน โดยพ่นน้ำยาล้างจานใน ช่วงเวลาที่แดดร้อนจัด ส่วนหางไหลสกัดใช้พ่นเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาดมาก พ่นในเวลาตอนเย็น
  • เพลี้ยอ่อน ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นหางไหลสกัด
  • ศัตรูพืช คือ กระรอก ป้องกันกำจัดด้วยการใช้กับดัก และส่วนที่ปลูกในโรงเรือน ป้องกันด้วยการใช้ตาข่ายล้อมโรงเรือน
วิธีการปลูก สตรอว์เบอร์รีอินทรีย์ พันธุ์พระราชทาน80

ข้อได้เปรียบของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย

  1. มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป อุณหภูมิต่ำเกือบตลอดทั้งปีและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง
  2. ที่ผ่านมาเกษตรกรได้สั่งต้นไหลสตรอว์เบอร์รีจากพื้นที่อื่น ที่มีราคาสูง มีค่าขนส่ง และได้ต้นไหลไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งหากทางศูนย์วิจัยฯ สามารถผลิตไหลให้เกษตรกรได้จะสามารถสร้างรายได้ให้กรมวิชาการเกษตร และแก้ปัญหาให้เกษตรกรโดยตรง
  3. ในพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ปกติมีนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี มีโอกาสที่สามารถจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากสตรอว์เบอร์รีได้ตลอด

โอกาสในการทำงานวิจัย และช่วยเหลือเกษตรกร

  1. โครงการผลิตสตรอว์เบอร์รีอินทรีย์แบบครบวงจร เพื่อเป็นต้นแบบเกษตรอนุรักษ์เชิงท่องเที่ยว แปลงอินทรีย์ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะผลิตแปลงสตรอว์เบอร์รีอินทรีย์ในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงรายให้เป็นแปลงต้นแบบได้ เนื่องจากสภาพพื้นที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนและแหล่งทำการเกษตรอื่น ๆ
  2. ศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ทางชีวภัณฑ์จากกรมวิชาการเกษตร เปรียบเทียบกับวิธีของภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อผลิตสตรอว์เบอร์รีอินทรีย์
  3. โครงการศึกษาชนิดของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูสตรอว์เบอร์รีในพื้นที่สูงดอยวาวี และแนวทางการกำจัดเบื้องต้น
  4. โครงการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ความต้านทานศัตรูพืช และผลผลิตของสตรอว์เบอร์รี
  5. โครงการผลิตไหลสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์ดี ให้กับเกษตรกร ความเป็นไปได้ในการผลิตเป็นสตรอว์เบอร์รีอินทรีย์จากการผลิตสตรอว์เบอร์รีที่ผ่านมาข้างต้น มีความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติตามข้อกำหนดของเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด แต่ใช้เฉพาะปุ๋ยเคมีสังเคราะห์เท่านั้น ซึ่งสามารถหาวัตถุดิบแทนปุ๋ยเคมีดังกล่าวได้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการผลิตโดยไม่ใช้สารสังเคราะห์ใด ๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะผลิตสตรอว์เบอร์รีอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่อไป 

อ้างอิง: ชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ และ เกียรติสยาม แก้วดอกรัก; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

อโกลนีมา พันธุ์ต่างๆ แก้วกาญจนา ความหมาย ชื่อสายพันธุ์อะไรบ้าง พันธุ์ใหม่ ราคา?

ต้นโมกเขา (โมกราชินีดอกส้ม, โมกสามร้อยยอด) วิธีปลูกต้นโมกเขา ขยายพันธุ์ ราคา?

ผักคะนองม้า(เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ ยอดอ่อน กินได้ เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ?

ต้นโมกมีกี่ชนิด โมกพวง, โมกซ้อน, โมกบ้าน (โมกลา) แตกต่างกันยังไงบ้าง ราคาถูก?

ต้น'โมกหลวง (โมกใหญ่) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร ไม้ดอกหอมไทย?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

✓ศัตรูพืช: หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน?