Lazada Birthday

» วันเกิดลาซาด้า! ลดแรงกว่า 90%*

24 - 27 มี.ค. นี้เท่านั้น (จำนวนจำกัด)

✓ต้นไม้: เครือไพสง (จุกโรหินี) ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร

เครือไพสง (จุกโรหินี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

เครือไพสง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Streptocaulon kleinii Wight & Arn. จัดเป็นพืชในสกุล Streptocaulon อยู่ในวงศ์โมก (Apocynaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า จุกโรหินี (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นเครือไพสง ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า จุกโรหินี (ชัยนาท), ขี้เดือน (สุราษฎร์ธานี), ไซสง เครือไซสง (ชัยภูมิ, อ.โพธิ์ตาก อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย), ตำยาน เครือไอ้แบ้ (ไทโคราช-อ.ชุมพวง นครราชสีมา), เครือไพสง (ไทลาว-อ.เมืองยาง นครราชสีมา, ขอนแก่น, ศรีสะเกษ, ยโสธร), เครือซูด (ร้อยเอ็ด), เครือเขาขน (อ.พรรณานิคม สกลนคร), เครือปะสง ยางปะสง (อ.กันทรารมย์ ศรีสะเกษ, อ.ศรีสงคราม นครพนม), เครือพายถุง นิรพานบ่กลับ (ไทญ้อ-อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม), เวือซาร์ (เขมร-อ.ท่าตูม สุรินทร์), วัลกะเซา (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์) และมีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า -

ต้นไม้: เครือไพสง (จุกโรหินี) ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร

นิเวศวิทยา

ต้นเครือไพสง ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่โล่งแจ้งในทุ่งหญ้า หรือชายป่าดงดิบแล้ง และป่าบุ่งป่าทาม ในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 ม.

ต้นไม้: เครือไพสง (จุกโรหินี) ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของเครือไพสง ในไทยพบในเขตที่ราบลุ่มภาคกลาง ตั้งแต่ จ. สุโขทัย ลงไปถึง จ. สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต, พบได้ง่ายตามป่าบุ่งป่าทามทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบในประเทศลาว เวียดนาม และกัมพูชา

เครือไพสง ออกดอกเดือนไหน

ต้นเครือไพสง ออกดอกช่วงเดือน พฤศจิกายน - พฤษภาคม ผลแก่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - สิงหาคม

ต้นไม้: เครือไพสง (จุกโรหินี) ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเครือไพสง

  • ลักษณะวิสัย: ไม้เลื้อยล้มลุก อายุหลายปี ยาว 3-5 ม.
  • ลำต้น: ทุกส่วนเมื่อเกิดแผลจะมีน้ำยางสีขาวขุ่น ตามกิ่งและเถาอ่อนมีขนสีสนิมหนาแน่น เถามีข้อและช่องอากาศนูน
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนานหรือแกมรูปหอกกลับ ยาว 5-10 ซม. ปลายใบมนและหยักคอดเป็นติ่งสั้น โคนใบเว้ารูปหัวใจหรือตัด ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นหยิกงอหนาแน่นสีขาว เนื้อใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกัน
  • ดอก: ช่อดอกแบบกระจุก ยาว 3-6 ซม. ออกตามซอกใบ มีขนยาวแข็งสีขาวหนาแน่น กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนหรือม่วงอมแดง ยาว 1-2 มม. กลีบดอกสีเหลืองอมเขียวหรือสีแดงอมม่วงเข้ม โคนเชื่อมติดกันทรงคล้ายชาม ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่ ยาว 5 มม. ปลายแหลม กลีบบิดเวียนซ้าย
  • ผล: ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ยาว 12-18 ซม. กว้าง 7-10 มม. แต่ละฝักเหยียดตรงและกางออกสองข้าง มีขนสั้นหนาแน่น ฝักแก่แห้งแตก
  • เมล็ด: มีเมล็ดจำนวนมาก รูปแถบ ยาว 1.2 ซม. ปลายด้านหนึ่งมีพู่ขนสีขาว ยาว 3-4 ซม.

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของเครือไพสง สามารถนำมาเป็นอาหาร ยอดอ่อน กินเป็นผักสดมีรสฝาด จิ้มน้ำพริก 

สรรพคุณทางสมุนไพร: ใช้ยางสีขาวทาแผลสดห้ามเลือด และช่วยสมานแผล, ยางใส่แผลแก้พิษแมลงป่อง, ยางใช้ทารักษาแผลร้อนในภายในช่องปาก (ภาษาอีสานเรียกว่า “ปากเป็นกาง”) แผลในช่องปาก หรือแผลจากโรคปากนกกระจอก, รากต้มน้ำดื่มรักษาโรคปากนกกระจอก, ทุกส่วนต้มดื่ม หรือเข้ายาอื่นๆ ทำเป็นลูกกลอนบำรุงกำลัง บำรุงธาตุขันธ์, รากเครือไพสง+รากเอื้อง/เอื้องหมายนา ต้มน้ำแล้วผสมกับ น้ำมะนาว ดื่มขับนิ่ว

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จาก เถาเนื้อเหนียวคล้ายเครือซูด ใช้แทนเชือกมัดสิ่งของ สานลอบ สานไซ และประโยชน์ในด้านอื่น เช่น ใบและเถาเป็นอาหารช้าง, อาหารวัว-ควาย

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม