Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: 'เถาคัน' (เครือหุนแป) ลักษณะ, สรรพคุณทางสมุนไพร?

เถาคัน (เครือหุนแป)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

เถาคัน (เครือหุนแป) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Causonis trifolia (L.) Mabb. & J.Wen จัดเป็นพืชในสกุล Causonis อยู่ในวงศ์องุ่น (Vitaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Cayratia carnosa (Lam.) Gagnep.
  • Cayratia trifolia (L.) Domin
  • Cissus carnosa Lam.
  • Cissus cinerea Lam.
  • Cissus trifolia (L.) K.Schum.
  • Columella trifolia (L.) Merr.
  • Vitis carnosa (Lam.) Wall.
  • Vitis crenata Wall.
  • Vitis psoraliifolia F.Muell.
  • Vitis scabicaulis Wall.
  • Vitis trifolia L.

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า เถาคัน (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นไม้: เถาคัน (เครือหุนแป) ลักษณะ การใช้ประโยชน์ สมุนไพร Causonis trifolia

ต้นเถาคัน มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า - และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า เครือพัดสาม (ภาคเหนือ), เถาคัน เถาคันขาว เถาคันแดง (ภาคกลาง, ภาคใต้), โผเผ่ เครือบักเห็บ (อ.กันทรารมย์ ศรีสะเกษ), เครือหุนแป (ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, หนองคาย)

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นเถาคัน (เครือหุนแป) ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าเสื่อมโทรม ชายป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และป่าบุ่งป่าทาม พบได้ง่ายตามที่รกร้างในเขตเมือง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของเถาคัน (เครือหุนแป) พบได้ง่าย ทั่วประเทศ มักพบเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป ต่างประเทศพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนตอนใต้

เถาคัน (เครือหุนแป) ออกดอกเดือนไหน

ต้นเถาคัน (เครือหุนแป) ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน ผลแก่เดือนสิงหาคมมกราคม

ต้นไม้: เถาคัน (เครือหุนแป) ลักษณะ การใช้ประโยชน์ สมุนไพร Causonis trifolia

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเถาคัน (เครือหุนแป)

  • ลักษณะวิสัย: ไม้เลื้อย ยาวได้ถึง 10 ม.
  • ลำต้น: กิ่งกลมและมีร่องตามแนวยาว ปลายกิ่งมีมือพัน (tendril) ออกตรงข้ามกับซอกใบ ตามกิ่งอ่อน ใบ ก้านใบ และช่อดอกมีขนสั้นประปราย-หนาแน่น
  • ใบ: ใบประกอบมี 3 ใบย่อย เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ ยาว 3-6 ซม. ใบย่อยกลางมีขนาดใหญ่กว่าอีกสองใบด้านข้าง ปลายใบแหลม-มน ขอบใบหยักคล้ายซี่ฟัน โคนใบกลมหรือเว้าเล็กน้อย เนื้อใบหนานุ่ม มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบย่อยยาว 0.5-2 ซม. ก้านใบยาว 2.5-6 ซม.
  • ดอก: ช่อดอกแบบแยกแขนงและแผ่กว้างคล้ายร่ม ยาว 6-15 ซม. ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กเมื่อบานกว้าง 5 มม มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงปลายตัดหรือหยักตื้นๆ กลีบดอกรูปไข่ ยาว 1.3-1.8 มม. บานโค้งกลับ เกสรเพศเมียสีแดงเข้ม
  • ผล: ผลทรงกลม กว้าง 7-10 มม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีดำม่วง มีเนื้อฉ่ำน้ำ คล้ายผลองุ่น มี 2-3 เมล็ด

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของเถาคัน (เครือหุนแป) สามารถนำมาเป็นสมุนไพร

  • ใบ นำมาตำ แล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี เป็นสิวอักเสบ ทำให้หัวฝีแตกแห้งเร็ว, ใบ ต้มน้ำอาบ แก้ผื่นคัน
  • ใบเครือหุนแป + ใบหนาด (Blumea balsamifera) + ใบเปล้า (Croton spp.) + ใบเถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis dubia) ต้มน้ำดื่มแก้ฟกช้ำ
  • ตำรับ ยาฟอกเลือด ช่วยฟอกเลือด
  • ตำรับ ยาฟอกเลือดในสตรี ช่วยฟอกเลือดในสตรี

ผลสุกสีดำ ใช้เป็นเหยื่อเสียบเบ็ดตกปลา (ปลายอน) น้ำในผลทำให้คัน ระคายเคือง แต่นกกินได้

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม