Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: กุ่มบก (ก่าม) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร?

กุ่มบก (Sacred Barnar, Caper Tree)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

กุ่มบก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs จัดเป็นพืชในสกุล Crateva อยู่ในวงศ์กุ่ม (Capparaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า กุ่มบก (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ดอกกุ่มบก (ก่าม) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร Crateva adansonii

ต้นกุ่มบก มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Sacred Barnar, Caper Tree และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า กุ่ม, ผักกุ่ม, กุ่มบก (ภาคกลาง), ก่าม ก่ำ (อีสาน), ก่าม ผักก่าม(อุดรธานี), กุ่มบก (พิษณุโลก)

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นกุ่มบก ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่ราบน้ำท่วมถึง หรือตามที่ราบเชิงเขาที่เป็นป่าเบญจพรรณ ในป่าบุ่งทามมักจะพบตามเนินดิน หรือจอมปลวก ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 350 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของกุ่มบก พบกระจายพันธุ์เกือบทั่วประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ต่างประเทศพบใน เมียนมาร์ จีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา

กุ่มบก ออกดอกเดือนไหน

ต้นกุ่มบก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน ผลแก่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม

ผลกุ่มบก (ก่าม) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร Crateva adansonii

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกุ่มบก

  • ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 4-25 ม.
  • ลำต้น: เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล เรียบหรือขรุขระ
  • ใบ: ใบประกอบมี 3 ใบย่อย รูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 6-10 ซม. ปลายใบมนหรือหยักเป็นติ่งสั้น โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบย่อยยาว 3-8 มม. ผิวเกลี้ยง เนื้อใบค่อนข้างหนา มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบยาว 5-9 ซม. เกลี้ยง
  • ดอก: ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกจำนวน 1-3 ดอก ก้านดอกยาว 4-8 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีขาวอมเขียว กว้าง 2-3 มม. ยาว 3-6 มม. กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนเมื่อใกล้ร่วง รูปรี กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีชมพู-ม่วง ก้านชูเกสรเพศผู้ยาว 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม.
  • ผล: ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงกลมหรือรีกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. ผนังผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมันเงา ก้านผลยาว 5-13 ซม. ผลอ่อนสีเขียวเนื้อแข็งมาก เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-ส้ม-แดงคล้ำ
  • เมล็ด: เมล็ดรูปเกือกม้า มีจำนวนมาก ยาว 7 มม.

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของกุ่มบก สามารถนำมาเป็นอาหาร โดยใช้ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้ทำส้มผักดอง (ผักดอง) แล้วนำมาจิ้มน้ำพริกหรือกินแกล้มปิ้งปลา ผลสุกรสหวาน กินเป็นผลไม้

สรรพคุณ สมุนไพร

  • ใบ : ช่วยขับลม ทารักษากลากเกลื้อน
  • เปลือก : มีรสร้อน ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง ช่วยคุมธาตุ รักษาโรคผิวหนัง
  • แก่น : แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง
  • แก่น: เข้ายาอื่นๆ แก้ปวดเมื่อย
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาตั้ง (ยาประคบ) ประคบแก้ปวดเมื่อย หรือบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • ทุกส่วน ดองเหล้า/ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย แก้กระษัย ไตพิการ
  • ตำรับ ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ-เส้นเอ็น/บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ-เส้นเอ็น บำรุงกำลัง
  • ตำรับ ยาแก้ลมกองหยาบ/วิงเวียน-ใจสั่น แก้วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น อาการบ้านหมุน หน้ามืดตาลาย ลมขึ้นแน่นหน้าอก (ประเภทลมกองหยาบ)
  • ตำรับ ยาแก้เลือดลมให้ไหลเวียนปกติ ขับคุณไสย ขับพรายในตัว แก้เลือดลมให้ไหลเวียนปกติ ขับคุณไสย ขับพรายในตัว
  • ตำรับ ยาบำรุงน้ำนม บำรุงน้ำนม

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม