Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นน้ำใจใคร่, ผักอีทก ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพรบำรุงน้ำนม ออกดอกเดือนไหน?

น้ำใจใคร่, ผักอีทก (Parrot Olax)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

น้ำใจใคร่ (ผักอีทก) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Olax scandens Roxb. จัดเป็นพืชในสกุล Olax อยู่ในวงศ์น้ำใจใคร่ (Olacaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า น้ำใจใคร่ (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นน้ำใจใคร่ มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Parrot Olax

และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า กระทกรก กระดอถอก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), น้ำใจใคร่ กระทอก กระทอกม้า (ราชบุรี, กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), กระเดาะ (สงขลา), กระเดาะฮาญิง (มลายู-นราธิวาส), นางจุม นางชม (ภาคเหนือ), หมากควยเซียก (ไทลาว-อ.เมืองยาง นครราชสีมา), เครืออีทก ผักอีทก (ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อุดรธานี), จี่โก่ย (อ.มัญจาคีรี ขอนแก่น), ควยเซียก เครือหมกปลาค้อ (สกลนคร), เดาตัวะ (เขมร-อ.ท่าตูม สุรินทร์), กระดอ (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์)

ต้นไม้: น้ำใจใคร่ (ผักอีทก) สมุนไพรบำรุงน้ำนม ยอดอ่อนกินได้ Olax scandens

ต้นน้ำใจใคร่ (ผักอีทก) ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ หรือที่รกร้างป่าเสื่อมโทรม ทั้งในเขตพื้นที่ดอน ที่ราบลุ่ม หรือทุ่งนา ตามป่าบุ่งป่าทามมักจะขึ้นตามจอมปลวกหรือเนินดิน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 300 ม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของน้ำใจใคร่ (ผักอีทก) ในไทยพบได้ง่าย ทั่วประเทศ ต่างประเทศพบในเขตร้อนของเอเชียใต้ จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา คาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตรา ชวา และบาหลี

น้ำใจใคร่ (ผักอีทก) ออกดอกเดือนไหน

ต้นน้ำใจใคร่ ออกดอกเดือนมีนาคม - กรกฎาคม ผลแก่เดือนพฤษภาคม - กันยายน

ต้นไม้: น้ำใจใคร่ (ผักอีทก) สมุนไพรบำรุงน้ำนม ยอดอ่อนกินได้ Olax scandens

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของน้ำใจใคร่ (ผักอีทก)

  • ลักษณะวิสัย: ไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวได้ถึง 20 ม.
  • ลำต้น: เปลือกเถาเรียบ สีเทาอมน้ำตาล เถาแก่มีตุ่ม-หนามที่เกิดจากโคนกิ่งเก่า ตามกิ่งอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสั้นหนาแน่น
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปรี ขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ยาว 3-7 ซม. ปลายใบและโคนใบมน-แหลม ผิวใบด้านล่างมีขนประปราย-เกลี้ยง เส้นแขนงใบ ข้างละ 5-9 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกัน เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดเจนด้านล่าง ก้านใบยาว 0.5-0.7 ซม.
  • ดอก: ช่อดอกแบบกระจะ ออกตามซอกใบ ยาว 1-3.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปถ้วย ยาว 1 มม. ปลายตัด กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว รูปแถบยาว 7-9 มม. ปลายกลีบแหลมและบานโค้งกลับ โคนกลีบครึ่งล่างติดกันแบบผิวเผิน และหลุดร่วงแยกจากกันง่ายทั้ง 5 กลีบ
  • ผล: ผลทรงกลม กว้าง 1-1.5 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียว ปลายผลมีติ่งสั้น มีถ้วยกลีบเลี้ยงขยายขึ้นมาเป็นเยื่อบางๆ สีขาว หุ้มประมาณครึ่งผล-เกือบมิดผล ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม-สีแดง มี 1 เมล็ด

ประโยชน์

ต้นไม้: น้ำใจใคร่ (ผักอีทก) สมุนไพรบำรุงน้ำนม ยอดอ่อนกินได้ Olax scandens

การใช้ประโยชน์ของน้ำใจใคร่ (ผักอีทก) สามารถนำมาเป็นอาหาร ยอดอ่อน เป็นผักสดหรือ ลวก นึ่ง ถ้าห่อใบตองย่างไฟจะมีกลิ่นหอม รสชาติหวานและมันมากขึ้น จิ้มน้ำพริก รสชาติคล้ายยอดอ่อนต้น แสง/ชุมแสง (Xanthophyllum lanceatum), ยอดอ่อน มีรสหวาน ใช่ทำหมกปลาช่อน, ผลสุก มีรสหวานอมขมปร่า/ขมอ่อนๆ กินเป็นผลไม้

สรรพคุณ

สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้แก่นและราก ต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม เป็นยาบำรุงน้ำนม

การใช้ประโยชน์จากเถา ใช้ทำกงลอบ/ไซ

รายละเอียดเพิ่มเติม