✓ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร?

เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

เงี่ยงดุก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Canthium berberidifolium E.T.Geddes จัดเป็นพืชในสกุล Canthium อยู่ในวงศ์เข็ม (Rubiaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า เงี่ยงดุก (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร Canthium berberidifolium

ต้นเงี่ยงดุก มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า - และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า เงี่ยงดุก หนามเงี่ยงดุก หนามปลาดุก (นครราชสีมา, ขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี), หนามแท่งน้อย (ภูไท-อ.พรรณานิคม สกลนคร), หนามก๊นไก่ (ไทญ้อ-อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม)

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นเงี่ยงดุก ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายป่าดงดิบแล้งและป่าเบญจพรรณที่อยู่ในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง และในป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 300 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของเงี่ยงดุก ในไทย พบได้ทั่วไป ในภาคตะวันออก ภาคกลาง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบทั่วไป แต่ไม่พบในลุ่มน้ำโมง ต่างประเทศพบที่กัมพูชา

เงี่ยงดุก ออกดอกเดือนไหน

ต้นเงี่ยงดุก ออกดอกช่วงเดือนเมษายน - กรกฎาคม ผลแก่เดือนมิถุนายน - กันยายน

ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร Canthium berberidifolium

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเงี่ยงดุก

  • ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม.
  • ลำต้น: กิ่งมีขนสั้นและมีหนามแหลมคมออกเป็นคู่ตามซอกใบ/ข้อ ยาว 0.5-3 ซม. กิ่งโน้มลง
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปกลม-ไข่กลับ ยาว 1-2 ซม. ปลายใบกลม-เว้าตื้น โคนใบมน-แหลม มีเส้นแขนงใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกัน ผิวใบด้านบนเกลี้ยงมันเงา มีรอยกดเป็นร่องตามแนวเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนประปราย-เกลี้ยง ก้านใบยาว 1-2 มม.
  • ดอก: ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มี 1-3 ดอก/กระจุก ดอกขนาดเล็ก เมื่อบานกว้าง 8-10 มม. กลีบเลี้ยงยาว 1.5 มม. ปลายหยักเป็นแฉกตื้นๆ 5 แฉก เกลี้ยง-ขนประปราย กลีบดอกสีเหลืองอ่อน-ขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่ ยาว 3-4 มม. ปลายเรียวแหลม ก้านดอกยาว 2 มม.
  • ผล: ผลค่อนข้างกลม แบนด้านข้างเล็กน้อย กว้าง 0.8-1 ซม. ปลายมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผิวเกลี้ยงมันเงา เมื่อสุกสีส้ม-แดง มี 2 เมล็ด

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของเงี่ยงดุก สามารถนำมาเป็นอาหาร ผลสุก สีส้ม-แดง รสเปรี้ยวอมหวาน กินเป็นผลไม้ และเป็นอาหารนก

สรรพคุณทางสมุนไพร

ตำรับ ยารักษาแผลเบาหวาน/แผลอักเสบเรื้อรัง รักษาแผลเบาหวาน หรือแผลอักเสบเรื้อรัง

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

✓ศัตรูพืช: หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน?

ต้นจำปาทอง (จำปาป่า) จำปาบ้าน ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีปลูก การดูแลและขยายพันธุ์?

✓ทำสวน: มือใหม่หัดปลูกแคคตัส วิธีเลี้ยง ดูแล ต้นกระบองเพชร?

คำว่า 'พันธุ์พืช' คืออะไร พันธุ์พืชประเภทต่าง ๆ มีพันธุ์อะไรบ้าง?

การแบ่งประเภท(ตัวย่อ) สูตรผสม สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช รูปแบบของกลุ่มสารผสม?

ต้นเงาะโรงเรียนนาสาร พันธุ์แท้ สุราษฎร์ฯ ราคาถูก วิธีปลูก ดูแล?

✓การใช้ประโยชน์ จากการปลูกพรรณไม้ดอกหอม ชนิดต่างๆ?

ต้นกันเกรา ความหมาย ประโยชน์ ไม้มงคลปลูกในบ้าน สรรพคุณทางสมุนไพร ราคาถูก?