Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ศัตรูพืช: หอยเชอรี่ กินใบอะไรบ้าง มีถิ่นกำเนิด มาจากที่ไหน?

หอยเชอรี่ (Golden Apple Snail)

หอยเชอรี่ (Golden Apple Snail) เป็นหอยทากน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนและเขตร้อนติดต่อกับเขตอบอุ่น อยู่ในวงศ์ Ampullaridae มีหลายสกุลเช่น Asolene, Felipponea, Marisa และ Pomacea 

ถิ่นกำเนิด หอยเชอรี่

หอยเชอรี่ มีต้นกำเนิดอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา หอยเชอรี่ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย รวมทั้งไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นหอยเชอรี่ที่อยู่ในสกุล Pomacea มีชื่อเต็มทางวิทยาศาสตร์คือ Pomacea canaliculata 

✓ศัตรูพืช: หอยเชอรี่ ลักษณะ กินอะไร ถิ่นกำเนิด มาจากไหน

โดยทั่วไปเรียกว่า หอยเชอรี่, หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ เป๋าฮื้อน้ำจืด มีสีเหลือง สีเหลืองปนน้ำตาล และสีดำปนเขียว มีการแยกเพศ เป็นตัวผู้และตัวเมีย

รายละเอียดเพิ่มเติม

หอยเชอรี่เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2-3 เดือนสามารถผสมพันธุ์กันได้ หลังจากผสมพันธุ์ช่วง 1-2 วันตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่ม ปกติจะวางไข่อยู่บนต้นไม้ บนกิ่งไม้อยู่ เหนือน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงศัตรูธรรมชาติคือมดไฟ ไข่จะมีประมาณ 300-4000 ฟอง ขึ้นกับขนาดของหอย และ ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนและจะลงไปอยู่ในน้ำใน 7-10 วัน

อาหารของหอยเชอรี่ กินอะไร

หอยเชอรี่ สามารถเจริญเติบโตและปรับตัวได้ในทุกสภาพ อาหารของหอยเชอรี่ หอยเชอรี่กินได้ตั้งแต่ตะใคร่น้ำ พืชน้ำที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด พืชน้ำต่างๆ แม้แต่ซากสัตว์ที่ตายอยู่ในน้ำ

เนื่องจากหอยเชอรี่ ชอบกินอาหารที่เป็นพืชอ่อนนุ่มได้ อาหารที่มันชอบ คือ ต้นข้าวกล้า ที่มีอายุ ประมาณ 7-10 วัน ต้นอ่อนของเผือก ซึ่งส่วนใหญ่คือพืชเศรษฐกิจที่ภูมิภาคนี้ปลูกกันอยู่ โดยการกินต้นข้าวของหอยเชอรี่ จะกัดกินส่วนของต้นข้าวที่อยู่ใต้น้ำประมาณ 0.5-1 นิ้วก่อน จากนั้นจะกินที่เหลือหมดทั้งต้น จะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที

ดังนั้นในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หอยเชอรี่สามารถทำลายข้าวได้ทั้งไร่ และเนื่องจากหอยเชอรี่สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีการปรับตัวได้ดีในทุกสภาพ จึงมีแพร่การระบาดของหอยเชอรี่ ไปตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งก็เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร ดังนั้นทุกครั้งที่มีการปลูกข้าวก็ย่อมจะต้องมี โอกาสที่หอยเชอรี่จะระบาดเข้านา

หอยเชอรี่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อใช้เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามในตู้ปลา และเช่นเดียวกับบางประเทศ เช่น ไต้หวัน นั้นนำเข้าเพื่อจะใช้เป็นอาหารเพื่อเสริมกับเนื้อหอยพื้นเมืองที่นิยมบริโภค เช่น หอยเป๋าฮื้อ เพราะหอยเชอรี่ เพาะเลี้ยงได้ง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบบางอย่างที่จะเป็นปัญหา เมื่อมีการรั่วไหล ของหอยเชอรี่ออกสู่ระบบนิเวศน์ในธรรมชาติ

ที่มา: การใช้สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ โดย นายนารถ พรหมรังสรรค์

รายละเอียดเพิ่มเติม