Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ศัตรูพืช: วิธีกำจัดหอยเชอรี่ และ สารเคมีที่ใช้กำจัดหอยเชอรี่?

การกำจัดหอยเชอรี่ ที่ใช้กัน สรุปได้มี 3 วิธี

1. วิธีกล

วิธีกล คือใช้กำลังคนเก็บหอยมาทำลาย ทำที่ดักหอยขณะปล่อยน้ำเข้านา เช่น ตาข่ายตาถี่เพื่อป้องกันหอยขนาดเล็กที่ปกติจะลอยตัวอยู่ในน้ำ การปักไม้ในแหล่งที่มีน้ำขังเป็นแอ่งลึกในนา เพื่อล่อให้หอยวางไข่และทำลายไข่ในภายหลัง รวมทั้งการใช้ใบไม้ เช่น ใบกล้วย ใบมะละกอ ทิ้งในที่ที่มีน้ำเป็นแอ่ง เพื่อล่ ให้หอยเข้ามากินและมาหลบใต้ร่มใบ

2. ชีววิธี

ชีววิธี คือการใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น การปล่อยฝูงเป็ดให้เข้าไปกินลูกหอย และการอนุรักษ์นกกระยาง นกปากห่าง นกอีลุ้ม เพื่อให้ลงไปกินหอยในนา

3. การใช้สารเคมี

แม้ในขณะนี้ มีการส่งเสริมให้มีการกินเนื้อหอยเชอรี่ เพราะมีสารอาหารเช่น โปรตีนสูง หรือ การนำเนื้อหอยเชอรี่มาใช้เป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ย แต่วิธีต่างๆ อาจไม่สามารถป้องกันได้ทันเวลา 

วิธีกำจัดหอยเชอรี่ และ สารเคมีที่ใช้กำจัดหอยเชอรี่ Molluscicide

และยังต้องใช้แรงงานและเวลามาก การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดหอยเชอรี่จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

สารกำจัดหอยเชอรี่ หอยทาก (Molluscicide)

สารเคมีที่ใช้กำจัดหอยทาก (Molluscicide) ที่มีอยู่หลายตัวไม่สามารถใช้ได้ สารที่นิยมใช้กันมากคือ

1. เมทัลดีไฮด์ (Metaldehyde) 

เมทัลดีไฮด์ (Metaldehyde) มีคุณสมบัติเป็นของแข็งสีขาว มีชื่อทางเคมีว่า 2,4,6,8-tetra methyl-1,3,5,7-tetraoxycyclooctane มีกลิ่นเหมือนฟอร์มาลดีไฮด์ เมทัลดีไฮด์จะดูดซึมผ่านผิวหนังและออกฤทธิ์โดยการสลายตัวเป็นอะเซทาลดีไฮด์ ซึ่งมีความเป็นพิษต่อระบบประสาทและระบบหายใจ ทำให้การทำงานต่างๆ ล้มเหลว

ข้อเสีย เนื่องจากเมทัลดีไฮด์เป็นพิษสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

2. นิโคลซาไมด์ (Niclosamide)

นิโคลซาไมด์ (Niclosamide) เป็นสารที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ในการกำจัดหอยทากน้ำจืดโดยเฉพาะ แต่เดิมใช้ในการกำจัดหอยทากที่เป็นพาหะของปรสิตที่เป็นโรคพยาธิ มีชื่อทางเคมีคือ 2,5 dichloro-4-nitrosalicylanilide ชื่อทางการค้าที่รู้กันทั่วไปคือ ไบลูไซด์ (Baylucide) ใช้กำจัดหอยเชอรี่ได้ดี และเป็นพิษน้อยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ข้อเสีย นิโคลซาไมด์จะเป็นพิษต่อปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก แพลงตอนสัตว์ และพืชน้ำบางชนิด

3. คอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulfate.pentahydrate)

คอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulfate.pentahydrate) หรือจุนสี มีสูตรทางเคมีคือ CuSO4.5H2O ปกติเป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมสาหร่าย แพลงตอนในการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถนำมาใช้กำจัดหอยเชอรี่ได้เช่นกัน

กลไกการออกฤทธิ์ เกิดโดยการแพร่ของ Cu2+ เข้าสู่เซลล์ของหอยซึ่งจะไปจับกับเอนไซม์ ที่หมู่ฟังก์ชั่น Sulfhydryl (S-S) ทำให้เอนไซม์ที่ทำงานในระบบต่างๆ ล้มเหลว

ข้อเสีย คอปเปอร์ซัลเฟต มีพิษต่อพืชและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ

จะเห็นว่ามีการใช้สารเคมีในการใช้กำจัดหอยเชอรี่ เช่น เอนโดซัลแฟน จะเป็นพิษต่อปลาและสัตว์น้ำ รวมทั้งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก นอกจากนี้สารเคมีที่นำมาใช้มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายสูง

มีรายงานว่า สารที่สกัดได้จากธรรมชาติ สามารถนำมาใช้กำจัดหอยทากที่เป็นศัตรูพืชและพาหะของโรคต่างๆได้ ดังนั้นจึงมีการวิจัยหาสารที่สกัดจากพืชเพื่อใช้กำจัดหอยเชอรี่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ในปี 1994 Tzeng และคณะ พบว่าสารที่สกัดจากเมล็ดชาพันธุ์ Camellia ซึ่งมี สารสำคัญคือ saponin สามารถใช้กำจัดหอยเชอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำลายเม็ดเลือดในสัตว์ เนื่องจาก saponin เป็นสารลดแรงตึงผิวธรรมชาติ เหมือนกับ Sodium dodecyl sulfate และ Sodium linear alkylbenzene sulfonate ซึ่งสามารถใช้ในการกำจัดหอยเชอรี่ได้

นอกจากนี้ ยังพบว่าต้นข้าวที่ได้รับ การฉีดพ่นด้วย Sodium dodecyl sulfate มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าต้นข้าวที่ไม่ได้รับการฉีดพ่น และพบว่า ต้นข้าวที่ได้การฉีดพ่นด้วยสารดังกล่าวจะไม่มีหอยเชอรี่มากินหรือเข้าใกล้เลย

อย่างไรก็ตามมีการพบสาร saponin ในใบยาสูบซึ่งไม่มีผลในการกำจัดหรือป้องกันการทำลายต้นข้าวของหอยเชอรี่ เนื่องจากเมล็ดชา พันธุ์ Camellia มีการปลูกมากในไต้หวันและนำสารที่สกัดจากเมล็ดไปใช้ในการรักษาโรคหัวใจและรักษา สุขภาพ ดังนั้นกากที่เหลือมีสาร saponin อยู่ปริมาณมาก สามารถนำมาบดเป็นผงและใช้ในการกำจัดหอย เชอรี่ได้เช่นกัน

ในประเทศมาเลเซียมีการแพร่ระบาดของหอยเชอรี่เช่นเดียวกัน จึงมีการกำจัดและป้องกันก็มีการ ใช้วิธีการต่างๆ รวมทั้งนำกากชาจากประเทศไต้หวันมาใช้ เพื่อลดการใช้เมทาลดีไฮด์ นอกจากนี้ในประเทศ มาเลเซียได้ค้นพบว่า ต้นไม้วงศ์ Agavacea ที่ชื่อว่า Wild sisal หรือ Yellow furcraea ที่ผ่านการตากแห้ง แล้วบดเป็นผงสามารถใช้กำจัดหอยเชอรี่ได้เช่นกัน

ในขณะเดียวกันมีรายงานเกี่ยวกับการใช้สารที่สกัดจากต้นพืชในสกุล Mikania หรือเรียกว่าต้นไก่ แดงพบว่าสามารถใช้ในการกำจัดหอยเชอรี่ได้เช่นกัน

จะเห็นว่า สารที่สกัดจากธรรมชาติหรือจากพืชต่างๆ ในการกำจัดหอยเชอรี่ยังใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย และไม่แพร่หลายในท้องตลาด จึงควรส่งเสริมให้ใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมีมากขึ้น กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ที่มา: การใช้สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ โดย นายนารถ พรหมรังสรรค์

รายละเอียดเพิ่มเติม