ต้นไม้มงคล ความหมายดี ปลูกเป็นไม้ประธานในสวน เสริมมงคล?

หนังสือ รวมพันธุ์ไม้ต้นในสวน เล่มนี้ เป็นอีกเล่มหนึ่งในชุด Plant Library รวบรวมไม้ต้นน่าปลูกไว้มากกว่า 200 ชนิดทั้งชนิดเก่าและชนิดใหม่ที่เป็นที่นิยม 

ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ผู้ปลูกสามารถใช้เป็นหลักประกันด้านธุรกิจ หรือใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ แต่ละต้นระบุชื่ออื่นๆ 

และชื่อไทยที่ใช้เรียก ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นกำเนิด และลักษณะเด่นที่สำคัญ เทคนิคการปลูก 

ช่วงเวลาที่ออกดอกและติดผล ประโยชน์ด้านสมุนไพร 

เกร็ดความรู้ที่ผู้ปลูกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ พร้อมแนะนำแหล่งจำหน่ายไม้ต้น และไม้ล้อมให้กับผู้สนใจ

ต้นไม้มงคล ความหมายดี ปลูกเป็นไม้ประธานในสวน เสริมมงคล

ต้นไม้มงคล ความหมายดี ปลูกเป็นไม้ประธานในสวนก็ได้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความเย็น ความร่มรื่นให้บ้าน ตามความเชื่อช่วยเสริมความเป็นสิริมงคล

รายละเอียดเพิ่มเติม

1.ต้นล่ำซำ

ต้นล่ำซำ หรือ ต้นหูหนู ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros buxifolia (Blume) Hiern จัดอยู่ในวงศ์  Ebenaceae จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นมีเปลือกแตกเป็นร่องสีเทาอมดำ ใบเป็นลักษณะใบเดี่ยวสีเขียวรูปไข่ มีดอกสีขาว และจะออกดอกแยกเพศต่างต้น

ต้นล่ำซำ หรือ ต้นหูหนู

ต้นล่ำซำ หากต้องการปลูกควรเว้นระยะห่างระหว่างต้น 4-6 เมตร หากปลูกติดกันเกินไปจะทำให้ต้นเติบโตช้า และการขยายพันธุ์มักนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด จึงเป็นพรรณไม้ที่โตช้าแต่ก็จะได้ต้นที่แข็งแรง

2. ต้นมั่งมี

ต้นมั่งมี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carallia brachiata (Lour.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae ต้นมั่งมีมีชื่อเดิมว่า “เฉียงพร้านางแอ” เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ลำต้นสามารถสูงได้ถึง 25-35 เมตร

ต้นมั่งมี

โดดเด่นด้วยลักษณะลำต้นที่สูงตรงไม่มีกิ่งก้านที่แผ่ออกไปมากทำให้สามารถปลูกใกล้อาคารได้ อีกทั้งยังยังไม่ผลัดใบและใบร่วงไม่มากนักจึงให้ร่มเงากับอาคารได้ตลอดทั้งปี เนื้อไม้แข็งแรงและมีลายไม้สวยจึงสามารถนำไปใช้ทำเครื่องไม้เครื่องมือได้ นอกจากนั้นดอกยังมีกลิ่นหอม ผลสุกยังเป็นอาหารสำหรับสัตว์ขนาดเล็กอย่างนกและกระรอกในสวนได้

3. ต้นนางกวัก

ต้นนางกวัก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros malabarica var. siamensis (Hochr.) Phengklai ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ ชอบแสงแดดจัดและบริเวณที่ชุ่มชื้น แต่ก็ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ผลแก่สามารถรับประทานได้

ต้นนางกวัก

ข้อดีของต้นนางกวัก คือเป็นต้นไม้ไม่ผลัดใบและใบร่วงน้อยจึงเก็บกวาดใบได้ง่าย นิยมนำมาปลูกในบริเวณบ้านหรือริมน้ำเพื่อให้ร่มเงา เป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่ง นิยมปลูกในทิศตะวันตกของบ้านจะช่วยให้ร่ำรวยขึ้นตามความเชื่อโบราณ เนื้อไม้สามารถนำมาแกะสลักเป็นเครื่องเรือนได้

4. ต้นกันเกรา

ต้นกันเกรา ชื่อวิทยาศาสตร์: Fagraea fragrans Roxb. ต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10-15 เมตร ปลูกได้ทุกที่ในประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ ทนต่อน้ำท่วมขัง ออกดอกเป็นช่อสีขาว แต่ละช่อมี 15 – 25 ดอก เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด ส่งกลิ่นหอมไม่ฉุนตลอดวัน มักบานในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ผลกันเกรามีรสขมแต่ใช้เป็นอาหารของนกและค้างคาวได้

ต้นกันเกรา

ต้นกันเกราเป็นไม้มงคลหนึ่งในเก้าชนิดที่ใช้รองก้นหลุมก่อนลงเสาเอกของบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล นิยมปลูกทางทิศตะวันออก เชื่อว่าช่วยปกป้องคุ้มภัย นอกจากนั้นเนื้อไม้ยังแข็งแรงเป็นเสี้ยนตรงและเนื้อละเอียด นำมาขัดเงาง่ายและทนต่อปลวกจึงนำมาใช้ทั้งสร้างอาคารและเฟอร์นิเจอร์ได้ บางพื้นที่เรียกว่าต้นตำเสา

5. ต้นกระบก

ต้นกระบก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn. ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ สูง 10-30 เมตร โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอนสวยงาม เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิดทั่วประเทศ นิยมปลูกเป็นกลุ่มกันในพื้นที่โล่ง ๆ สำหรับให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์เพราะผลสุกจะร่วงลงสู่พื้นเป็นอาหารของสัตว์เคี่ยวเอื้องอย่างกวาง เก้ง วัวหรือควาย และนกชนิดต่างๆ

ต้นกระบก

นอกจากนั้นยังแหล่งอาหารของจุลินทรีย์อย่างดีจึงช่วยบำรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในดินได้ เนื้อไม้เนื้อแข็งและหนัก มีเสี้ยนตรงแข็งมากจึงนิยมใช้เป็นเครื่องเรือนที่ต้องการความทนทาน เช่น ครกและสาก เมล็ดสามารถนำมาคั่วรับประทานเป็นของว่าง บางคนเรียกกันว่า อัลมอนด์อีสาน นอกจากนั้นใบอ่อนยังใช้รับประทานสดได้อีกด้วย

6. ต้นจิกเศรษฐี

จิกเศรษฐี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia macrocarpa Hasskl. วงศ์ Lecythidaceae ถิ่นกำเนิด มาเลเซียและอินโดนีเซีย ไม้ต้น สูง 15 -30 เมตร เปลือกต้นสีเทา ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบกิ่ง ใบรูปรีถึงรูป ไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบ หนาและบิด สีเขียวเข้มเป็นมัน

ต้นจิกเศรษฐี

ช่อดอกเป็น ช่อกระจะออกที่ปลายยอด ช่อดอกยาวกว่า 1 เมตร ห้อยลง ก้านช่อดอกและกลีบเลี้ยง สีแดงเรื่อ ดอกสีขาว ก้านเกสรเพศผู้สีขาว ยื่นยาวจากดอกจำนวนมาก ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ช่วงกลางคืนถึงรุ่งเช้า พอช่วงสายดอกจะร่วง เหลือแต่กลีบเลี้ยง ผลรูปกระสวย มีสันยาว ประมาณ 12 เซนติเมตร ปลายผลมีกลีบเลี้ยง ติดอยู่

7. ต้นบุนนาค

ต้นบุนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร ทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ ใบเขียวเข้มตลอดปี ให้ร่มเงาได้ดี พบมากในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ

ต้นบุนนาค

ดอกบุนนาค ดอกมีกลิ่นหอมเย็น มักออกดอกในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ยอดอ่อนสามารถนำมาใช้ทานสดหรือทำอาหารได้ เนื้อไม้แข็งแรง กิ่งสามารถนำมาทำฐานรองพานดอกไม้ไหว้พระตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ โบราณนิยมปลูกต้นบุนนาคไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ เหมือนมีพญานาคคุ้มครอง

8. ต้นเสม็ดแดง

ต้นเสม็ดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cinerea Kurz. ต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงโดยทั่วไป 7 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นที่มีอายุมากมักเป็นพูพอน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลสีขาวทรงกลมขนาดเล็กดูน่ารัก ออกผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ต้นเสม็ดแดง

ต้นเสม็ดแดง พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ยอดอ่อนเสม็ดแดงรับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมฝาด นิยมทั้งนำไปลวกและกินสดกับน้ำพริก คนอีสานจึงเรียกว่าผักเม็ก น้ำมันจากใบมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร สามารถใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา หรือชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดได้

9. ต้นแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum officinale L. วงศ์ : Zygophyllaceae ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบหมู่เกาะเวสต์อินดีสถึงทวีปอเมริกาใต้

ต้นแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆออกดอกฤดูร้อน และฤดูร้อน