ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี และ ผีเสื้อปิกาโซ ผีเสื้อกลางคืน ลายสีสวย?

เมื่อกล่าวถึงผีเสื้อกลางคืน ภาพจำของผู้คนส่วนมากมักนึกถึงผีเสื้อที่ไม่มีสีสันหรือไม่มีลวดลายที่สวยงามประดับอยู่บนปีก ดังเช่นที่พบในผีเสื้อกลางคืน

ส่วนมากในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Family Noctuidae) ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กที่มักเป็นศัตรูพืช แต่ในความจริงแล้วนั้นยังมีผีเสื้ออีกหลายชนิดในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้นี้ ที่มีสีสันและลวดลายโดดเด่นสวยงาม ในบทความครั้งนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำ

ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี และ ผีเสื้อปิกาโซ ผีเสื้อกลางคืน

และกล่าวถึงผีเสื้อสองชนิดในวงศ์นี้ที่น่าสนใจ มีลักษณะที่โดดเด่นกว่าผีเสื้อชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันได้แก่ "ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี" และ "ผีเสื้อปิกาโซ"

รายละเอียดเพิ่มเติม

ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี

โดย “ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี” ชื่อวิทยาศาสตร์ Apsarasa radians (Westwood, 1848) อยู่ในวงศ์ย่อย Noctuinae สกุล Apsarasa Moore, 1867 มีชื่อสามัญว่า "Radiating Owlet"

เนื่องจากลักษณะของลวดลายในปีกคู่หน้า มีลวดลายคล้ายเส้นรัศมีแผ่ออกจากแถบสีเข้มตรงกลางปีกไปยังส่วนของขอบปีก จึงเป็นที่มาของชื่อชนิด "radians" และชื่อสกุล "Apsarasa" มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Apsaras” หรือ “Apsara” ที่หมายถึง นางอัปสร หรือ นางอัปสรา ซึ่งเป็นนางสวรรค์ประเภทหนึ่งตามเทวคติและวัฒนธรรมร่วมในภูมิภาคอินเดียรวมถึงภูมิภาคอุษาคเนย์ 

ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี Radiating Owlet

ดังที่สามารถพบเห็นได้เป็นรูปสลักภายในบริเวณพื้นที่เทวาลัย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญนี้ ซึ่งสามารถเปรียบผีเสื้อชนิดนี้ว่ามีความงดงามดั่งนางอัปสรที่อาศัยอยู่บนสวรรค์

ผีเสื้อปิกาโซ

ในขณะที่ "ผีเสื้อปิกาโซ" ชื่อวิทยาศาสตร์ Baorisa hieroglyphica Moore, 1882 อยู่ในวงศ์ย่อย Pantheinae สกุล Baorisa Moore, 1882 มีชื่อสามัญว่า "Picasso Moth"

ผีเสื้อปิกาโซ Picasso Moth

เนื่องจากลักษณะของลวดลายของปีกคู่หน้า มีลวดลายสวยงามคล้ายลายเส้นภาพจิตรกรรมที่รังสรรค์โดยศิลปินเอกของโลกชาวสเปนผู้ล่วงลับ "ปาโบล รุยซ์ ปิกาโซ (Pablo Ruiz Picasso)" 

อย่างไรก็ตามผู้ที่ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของผีเสื้อชนิดนี้ คือ Frederick Moore มีความเห็นว่า ลวดลายบริเวณปีกคู่หน้านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักขระอียิปต์โบราณ (hieroglyphics) จึงเป็นที่มาของชื่อชนิด "hieroglyphica"

ผีเสื้อทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะเพศผู้และเพศเมียใกล้เคียงกันในแต่ละชนิดและเป็นที่น่าสนใจว่าผีเสื้อทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะของถิ่นที่อยู่อาศัยที่คล้ายคลึงกัน โดยพบอาศัยในป่าดิบชื้นทั่วประเทศไทย ในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำจนถึงพื้นที่ในระดับความสูงประมาณ1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

แต่ผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมีมักพบได้บ่อยกว่าผีเสื้อปิกาโซ เนื่องจากผีเสื้อปิกาโซมักพบในพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากกว่าผีเสื้ออัปสรเส้นรัศมี 

และแม้ว่าจะสามารถพบผีเสื้อทั้งสองชนิดนี้ได้เกือบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย แต่ไม่มีรายงานการพบในพื้นที่ภาคกลางบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

รายละเอียดเพิ่มเติม