ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นพรวด (โทะ, ทุ) ผลไม้ป่ากินได้ ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ?

พรวด คืออะไร

"พรวด" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk, วงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE) (1) ชื่อท้องถิ่น ได้แก่ พรวด (ตราด) พรวดใหญ่ (ชลบุรี) ซวด (จันทบุรี) กาท (ชุมพร) โทะ มูติง ง่าย ปุ๋ย rose myrtle, downy myrtle, hill gooseberry, sim เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มสูง 1-4 ม. เปลือกลอกเป็นแผ่นบาง ๆ มีขนสั้นหนานุ่มสีเทาตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกด้านนอกและผล

ต้นพรวด (โทะ, ทุ) ผลไม้ป่ากินได้ ลักษณะ สรรพคุณ สมุนไพร

ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2-10 ซม. แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ออกจากโคน เรียงโค้งจรดกันเป็นเส้นขอบใน ก้านใบยาวประมาณ 5 มม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน ออกตามซอกใบ ส่วนมากมีดอกเดียว ก้านช่อยาว 1-2 ซม. ก้านดอกยาวได้ถึง 1.5 ซม. ฐานดอกรูปถ้วย ยาว ประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ยาว 5-6 มม. ปลายมน ติดทน

ดอกสีชมพูอมขาว มี 4-5 กลีบ รูปไข่ กว้างยาว 1.5-2 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสีแดงยาว 0.7-1 ซม. ปลายอับเรณูมีต่อมขนาดเล็ก รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 ซม.

ผลสดมีหลายเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ขนสั้นหนา นุ่มสีเทา สุกสีดำอมม่วง เมล็ดสีน้ำตาล รูปคล้ายไต ยาวประมาณ 3 มม. มีปุ่มกระจาย

ถิ่นอาศัย

พบได้ที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโมลุกกะ และซูลาเวซี ในไทยพบทางภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ภาคใต้ ชุมพร พังงา ภูเก็ต กระบี่ สงขลา นราธิวาส ภาคตะวันตก ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เป็นต้น พบขึ้นตามชายหาด ชายป่าพรุ และป่าดิบเขา ความสูง ประมาณ 1,300 ม.

ประโยชน์ สรรพคุณ

ผลสุกรับประทานได้ นำมาแปรรูปเป็นแยม หรือไวน์ ในเวียดนามมีการเพาะปลูก เพื่อเก็บเกี่ยวผลพรวดมาหมักเป็นเครื่องดื่ม สำหรับข้อมูลการใช้ตามภูมิปัญญาแผนโบราณ ในเวียดนาม มาเลเซีย และจีน

มีการใช้ผลที่ยังไม่สุกเพื่อแก้อาการท้องเสีย แก้บิด และใช้ผลสุกเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศไทยมีการสำรวจทางภาคใต้มีการนำผลพรวดมาใช้แก้ไข้ แก้ท้องเสีย และแก้บิด

น้ำคั้นจากผล พรวดมีผลในการป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ในหนูแรทที่ ได้รับอาหารไขมันสูง อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการทดลองในระดับเซลล์ ในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง เท่านั้น

โภชนาการ

มีรายงานองค์ประกอบทางโภชนาการ ระบุว่าพรวดเป็นผลไม้ให้พลังงานต่ำ มีโปรตีน ไขมัน และ นํ้าตาลในระดับต่ำา แต่มีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินอีและโพแทสเซียม

ต้นพรวด (โทะ, ทุ) ผลไม้ป่ากินได้ ลักษณะ สรรพคุณ สมุนไพร

สารสำคัญ

สําหรับสารสำคัญ สามารถ พบสารประกอบฟีนอลิกได้ในปริมาณสูง ได้แก่ สารกลุ่ม stilbenes, ellagitannins, anthocyanins, flavonols และ phenolic acids (gallic acid) เป็นต้น 

และมีข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าผลพรวดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ สาร piceatannot จากผลพรวดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ปกป้องการถูกทําลายของเซลล์ผิวหนังจากรังสี UV

โดยทำการทดลองในเซลล์ normal human epidermal keratinocytes (NHEK) สาร watsonianone A จากผลพรวดมีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของเซลล์, HEp-2 และ RAW264.7 จากการถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย respiratory syncytial virus (RSV) ในหลอด ทดลอง

สาร myricetin จากผลพรวดมีฤทธิ์ต้านการแพ้ โดยทําการทดลองในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว RBL-2H3 สารสกัดเอทานอลจากผลพรวดมีผลในการปรับปรุงภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ใน ลำไส้ มีฤทธิ์ในการป้องกันความผิดปกติของลำไส้และอาการอักเสบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำโดยการให้อาหาร ไขมันสูง 

สารสกัดเอทานอลจากผลพรวดมีผลในการควบคุมการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการ อักเสบในเซลล์ตับ ยับยั้งการเกิดความเป็นพิษหรือการถูกทำลายของเซลล์ตับ และมีผลต่อการป้องกันการเกิด โรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในหนูเม้าส์ที่ได้รับอาหารไขมันสูง

บทสรุปส่งท้าย

"พรวด" ที่นิยมเรียกกันทางภาคตะวันออก หรือ "โทะ" หรือ "ทุ" ที่นิยมเรียกกันทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นผลไม้ป่าที่นำมารับประทานได้ แต่เป็นที่รู้จักกันเพียงเฉพาะถิ่นเท่านั้น

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเป็นที่รู้จัก มากขึ้นเนื่องจากดอกของต้นพรวดมีสีสันสดใส และมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ แต่การใช้ประโยชน์จากผล พรวดก็ยังไม่เป็นที่นิยม

จากข้อมูลทางโภชนาการและสารสำคัญ ผลพรวดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่น่าสนใจต่อ การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลงานวิจัยไปต่อยอดหรือพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ในทางอาหารหรือ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือการใช้ในทางเครื่องสำอาง เป็นต้น.

รายละเอียดเพิ่มเติม