ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีลายหยัก มอธผีเสื้อกลางคืน ใกล้สูญพันธุ์?

ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก

ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก ชื่อวิทยาศาสตร์ Actias maenas Doubleday อยู่ในวงศ์ Saturniidae มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษว่า The Moon Moth

ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก เป็นผีเสื้อกลางคืน หรือ มอธ อยู่ในกลุ่มแมลงคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 สถานภาพหายากใกล้สูญพันธุ์ ห้ามซื้อขายและมีไว้ครอบครอง

ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีลายหยัก มอธผีเสื้อกลางคืน ใกล้สูญพันธุ์

พฤติกรรม

ออกหากินเวลากลางคืน เวลากลางวันชอบเกาะนอนตามมุมมืดในพุ่มไม้ทึบ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะ

  • ลำตัวมีขนหนา ปลายหนวดแตกเป็นขนนก
  • ปีกหน้า ตัวผู้ สีเหลืองมะนาว กลางปีกมีแถบสีน้ำตาลอมชมพู และสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแดง จุดตารูปเคียวสีทองแดงที่กลางปีกติดกับขอบปีก ตัวเมีย สีจางกว่า เป็นสีเหลืองอ่อน จุดตารูปเคียวสีทองขนาดใหญ่
  • ปีกหลัง ตัวผู้ สีเหมือนปีกหน้า แต่มีหางยาวปลายหางรูปธง มีขนหนาที่ขอบปีกติดกับท้อง จุดตารูปไข่หรือกลม ตัวเมีย จุดตาเป็นรูปไต สีส้มเหลืองถึงเหลืองจาง หางยาวปลายหางรูปธง ,ด้านท้อง ปีกหน้า ตัวผู้ สีจางกว่าด้านหลัง จุดและเส้นสีน้ำตาลเทา จุดตาสีน้ำตาล 
  • ปีกหลัง ตัวผู้ มีเส้นขวาง 2 เส้น ตัวเมีย มีเส้นขวาง 1 เส้น จุดตาสีชมพู รูปไข่ มองเห็นเส้นปีกชัด

เขตแพร่กระจาย

อินเดีย จีน เมียนมาร์ ไทย ตะวันตกของมาเลเซีย หมู่เกาะซุนดา อินโดนีเซีย (Java, Sulawesi)

ที่มา: thailandica