รู้ทันกลโกง บริษัทรับเหมาก่อสร้าง สร้างบ้านเอง ต้องรู้อะไรบ้าง?

เชื่อได้เลยว่าใครที่กำลังวางแผนสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้านเอง สิ่งแรกที่มักจะนึกถึงก็คือการเลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่จะเข้ามารับเหมาก่อสร้างเพราะทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาเป็นปัญหาโลกแตกที่ถึงแม้ไม่อยากพบเจอ ก็ต้องเจอชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถรู้เท่าทันกลโกงของผู้รับเหมาเพื่อตั้งรับและหาทางป้องกันไว้ก่อนคงจะดีไม่น้อย

รู้ทันกลโกง บริษัทรับเหมาก่อสร้าง สร้างบ้านเอง ต้องรู้อะไรบ้าง

วันนี้เราจึงมารวบรวมกลโกลของบริษัทรับเหมาก่อสร้างมาฝากกันค่ะ รวมไปถึงข้อมูลเสริมสำหรับคนที่กำลังคิดจะมีบ้านอย่าง สร้างบ้านเอง VS บ้านโครงการควรเลือกแบบไหนดี และ 5 ขั้นตอนการสร้างบ้านที่ควรรู้ จะมีข้อมูลอะไรน่าสนใจบ้างลองไปดูกันเลย

รายละเอียดเพิ่มเติม

รวบรวมกลโกลของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง

1. ทิ้งงาน

เป็นปัญหาหลักสุดเบสิกที่ต้องเจอกันอยู่เป็นประจำที่ผู้รับเหมาจะทิ้งงานแล้วเชิดเงินหนีลอยนวลไป หรือทำงานแบบเช้าชามเย็นชามกินค่าแรงไปเรื่อยๆงานไม่เสร็จเสียที เมื่อลูกค้าไปเร่งก็จะทำแบบขอไปที เกิด defect ต้องมาตามแก้ไขกันภายหลังสร้างปัญหาให้เจ้าของบ้านไม่ใช่น้อย

2. วัสดุก่อสร้างไม่ได้ตามสเปกที่ตกลง

ข้อนี้จะเกิดกรณีที่มีการว่าจ้างเหมาทั้งแรงและวัสดุก่อสร้าง โดยตอนแรกที่ตกลงบอกว่าจะใช้วัสดุชั้นดี เกรดสูง แต่พอเวลามาทำจริงๆกับนำวัสดุเกรดต่ำไม่ได้คุณภาพเหมือนที่ตกลงกันไว้มาก่อสร้างต่อเติม ซึ่งผลกระทบที่ลูกค้าจะได้รับก็คืออาจะทำให้บ้านร้าวหรือทรุดตัวลง

3. ตกลงทำสัญญาแบบไม่ชัดเจน

บางครั้งสัญญาที่ผู้รับเหมาร่างมาให้กับลูกค้านั้น มีลักษณะคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่ลงข้อตกลงที่คุยกันไว้อาศัยช่องว่างทางกฎหมายในการเอารัดเอาเปรียบ และยิ่งลูกค้าไม่อ่านสัญญาหรือระบุข้อตกลงร่วมกันลงไป อาจจะทำให้กลายเป็นข้อพิพาททางกฎหมายได้ในภายหลัง และฝ่ายที่มักจะเสียเปรียบก็ย่อมตกเป็นฝ่ายลูกค้าอยู่เสมอเพราะไม่มีหลักฐานที่จะนำไปยืนยันได้

4. ชอบเบิกเงินล่วงหน้า

โดยส่วนมากผู้รับเหมาจะชอบตีเนียนด้วยการขอเบิกเงินล่วงหน้าก่อน มักจะมีข้ออ้างว่า วัสดุที่จะใช้ก่อสร้างหมด ต้องไปซื้อเพิ่ม หรือว่าต้องจ่ายค่าแรงคนงานก่อน ซึ่งเจ้าของบ้านก็มักใจอ่อนยอมจำนนประกอบกับที่อยากให้งานเสร็จเร็วๆ ก็จะให้ไป เมื่อผู้รับเหมาเบิกเงินไปแล้วจนครบ สุดท้ายก็ทิ้งงานหนีหายไปเลย

5. ผู้รับเหมาเปลี่ยนทีมช่างบ่อย

ผู้รับเหมาชอบหลอกให้ลูกค้าตายใจด้วยการพาช่างฝีมือดี มากประสบการณ์พร้อมทั้งเทจำนวนช่างเข้ามาอย่างเต็มพิกัด เพื่อระดมกันเข้ามาทำงานให้ดูดีมีคุณภาพตามแบบที่ลูกค้าต้องการทุกอย่าง เพื่อหลอกลูกค้าในตอนแรก พอหลังจากนั้นหัวหน้าช่างก็จะสลับเปลี่ยนไปรวมทั้งจำนวนช่างก็ทะยอยหายไปด้วยเช่นกัน

6. ตัวผู้รับเหมาไม่เข้ามาคุมงาน

ผู้รับเหมาบางคนจะรับงานไว้หลายที่ ทำให้ไม่มีเวลาไปตรวจตราที่ไซต์งานครบทุกที่หรือเลือกเข้าไปตรวจเฉพาะไซต์งานใหญ่ๆ ส่วนไซต์งานเล็กๆก็ปล่อยให้ลูกน้องทำงานกันไปเองเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดว่างานจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ ส่งผลให้งานของลูกค้าคลาดเคลื่อนระยะเวลาที่งานจะต้องเสร็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด

7. ขาดความรับผิดชอบ

นี่ก็เป็นข้อที่มักเกิดขึ้นบ่อยจากการตกลงกันด้วยวาจา สัญญาว่าจะทำให้ในแบบที่ลูกค้าแจ้ง แต่พอถึงเวลาจริงๆก็ไม่ทำให้ ผลัดวันปะกันพรุ่งไปเรื่อยจนงานเสร็จเก็บข้าวของกลับไป บางรายก็ทิ้งเครื่องมือที่ไม่สำคัญไว้ บอกว่าจะมาเก็บและแก้ไขให้ ผลสุดท้ายก็ไม่มาทำตามที่บอกยอมทิ้งเครื่องมือ แล้วก็ไม่สามารถติดต่อไม่ได้อีกเลย

8. โกงเงินมัดจำ

ข้อนี้จะเข้าข่ายข้อเดียวกับทิ้งงาน เพราะส่วนมากก่อนเริ่มงานผู้รับเหมาจะขอเงินมัดจำไว้อย่างน้อยคือประมาณ 40% ของมูลค่างานทั้งหมด เมื่อลูกค้าจ่ายเงินมัดจำไปตามที่ขอแล้ว บางรายก็หนีหายทิ้งงาน ที่ดีหน่อยก็คือทำงานให้แต่ช้าเป็นเต่า พอใกล้จะเบิกงวดต่อไปก็จะรีบระดมกำลังมาทำให้เห็นผลงานสักครั้งหนึ่งเพื่อหวังเงินก้อนใหม่

9. หลอกลวงทาง Internet

ปัจจุบันนี้เวลาที่ต้องการอยากได้อะไรก็เสิรช์หาทางอินเตอร์เน็ตมีทุกอย่างให้พร้อมสรรพ ตั้งแต่ของกินยังของใช้ เรื่องรับเหมาก่อสร้างก็เช่นกัน ถ้าคุณไม่รู้จะไปมองหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไหน แค่โพสทิ้งไว้ แป๊บเดียวมีติดต่อมาเพียบ ซึ่งถ้าไม่กลั่นกรองให้ดี อาจตกเป็นเหยื่อของผู้รับเหมาที่ต้องการจะหลอกได้ทันทีทันใด

10. ฮั้วการประมูล

ในข้อนี้เป็นหลุมดำของวงการก่อสร้างมาช้านาน วิธีการคือเหล่าบรรดาผู้รับเหมาที่มีความต้องการอยากได้งานนี้เหมือนกัน ต่างก็จะมาตกลงกันเพื่อป้องกันไม่ให้ราคารับเหมาต่ำจนเกินไปหรือตัดราคากันเอง เมื่อคุยหรือหาจุดตรงกลางได้ทั้งสองฝ่ายก็เท่ากับว่าได้ผลประโยชน์ทั้งคู่เรียกได้ว่า Win-Win แล้วจึงค่อยมาแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ ซึ่งการฮั้วประมูลนี้จะส่งผลให้ราคาก่อสร้างโดยรวมสูงขึ้นกว่าปกติ ย่อมหมายความว่าลูกค้าก็จะต้องจ่ายค่าต้นทุนในการก่อสร้างสูงเช่นกัน

จากกลโกงที่เรารวบรวมมาให้นี้ เป็นกลวิธีที่ผู้รับเหมาก่อสร้างส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในข้อใดข้อหนึ่ง แต่ถ้าโชคร้ายเจอผู้รับเหมาที่แย่สุดๆก็อาจจะต้องพบเจอทุกข้อ ดังนั้นถ้าเราหาสามารถรู้เท่าทันและวางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันไว้ก่อนเราก็จะพลิกสถานการณ์กลายมาเป็นฝ่ายได้เปรียบ หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียรู้มากไปกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วยค่ะ

เรื่องที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทรับสร้างบ้าน

การจะมีบ้านสักหลังแน่นอนว่ามีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึง ดังนั้นเราเลยอยากนำข้อูลเกี่ยวกับ สร้างบ้านเอง VS บ้านโครงการควรเลือกแบบไหนดี และ 5 ขั้นตอนการสร้างบ้านที่ควรรู้ มาให้ทุกคนได้ทราบก่อนตัดสินสร้างบ้านกัน

สร้างบ้านเอง VS บ้านโครงการ ควรเลือกแบบไหนดี

การสร้างบ้านเองหรือเลือกซื้อบ้านโครงการเป็นเรื่องที่หลายคนกำลังคิดหนัก โดยมีข่าวเกี่ยวกับบ้านทรุดตัวทั้งโครงการ หรือหลังเป็นเฉพาะ ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อหวั่นวิตก ฉะนั้น มาดูกันว่าระหว่างบ้านสร้างเองกับบ้านโครงการ แบบไหนน่าสนใจมากกว่ากัน

สร้างบ้านเอง

ข้อดี : คุณสามารถออกแบบบ้านเองได้ แต่ควรมีวิศวกรที่เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาเพื่อป้องกันการผิดรูปแบบ และเลือกสถานที่ตั้งที่ใกล้ห้างหรือถนนสายหลักเพื่อความสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังสามารถเลือกวัสดุที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการต่อเติมภายหลัง

ข้อเสีย : การก่อสร้างบ้านควรมีการควบคุมและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี การสร้างบ้านเองไม่สามารถสร้างพื้นที่ส่วนกลางที่มาพร้อมสระว่ายน้ำหรือฟิตเนสได้เอง และมีปัญหาการควบคุมต้นทุนให้อยู่ในวงเงินที่กำหนดเป็นไปได้ยากมาก

บ้านโครงการ

ข้อดี : ผู้สนใจซื้อโครงการจัดสรรต้องการพื้นที่ส่วนกลางที่มีระบบสาธารณูปโภคครบครันและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างจุดเด่นเหนือคู่แข่ง โครงการบางแห่งมักจะตั้งราคาสูงเพื่อคัดสรรผู้อยู่อาศัยที่สามารถจ่ายราคาบ้านได้ และมีโปรโมชั่นร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อให้ผู้ซื้อได้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลงหรือวงเงินกู้ที่สูงมากขึ้น

ข้อเสีย : การเลือกซื้อบ้านจัดสรรควรเลือกแบบที่โครงการกำหนดไว้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแบบบ้านยากและอาจทำให้การก่อสร้างช้าลงได้ การเลือกผู้ประกอบการก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน และตัวผู้ซื้อไม่สามารถเข้าไปควบคุมการก่อสร้างได้ บางโครงการต่อเติมบ้านมีข้อห้ามเรื่องการใช้ผนังระบบพรีคาสท์ทำให้การต่อเติมลำบากและมีความเสี่ยงที่บ้านจะพังหรือทรุดตัวลงได้ตลอดเวลา

5 ขั้นตอนการสร้างบ้านที่ควรรู้

การสร้างบ้านด้วยตัวเองหรือซื้อบ้านอาจเจอปัญหาบ้านทรุด บ้านพัง บ้านถล่ม โครงการจัดสรรที่ซื้อมีปัญหา งบประมาณเกินตัว จึงต้องตรวจสอบและสอดส่องขั้นตอนการก่อสร้างบ้านแต่ละขั้นตอนเพื่อป้องกันความยุ่งยากในอนาคต

1. ปรับพื้นดินก่อนเริ่มก่อสร้าง 

 เริ่มต้นด้วยการปรับพื้นที่ดินให้เรียบและแข็งแรงพอรับน้ำหนักบ้านได้ โดยถมดินในฤดูร้อนเพื่อให้ดินแน่นและคุณภาพ ควรถมให้สูงกว่าระดับถนนประมาณ 50-80 เซนติเมตร และสูงกว่าท่อระบายน้ำเพื่อลดความเสี่ยงต่อน้ำท่วม จากนั้นก็สร้างบ้านได้เลย

2. วางฐานรากและโครงสร้างหลัก

การลงเสาเข็มและการหล่อตอม่อ รวมถึงการฉีดน้ำยากันปลวกระหว่างก่อสร้าง ช่วยเสริมสร้างรากฐานของบ้านให้แข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้ นอกจากนี้ยังมีการขุดดินเพื่อเตรียมวางระบบสุขาภิบาล เช่น ระบบน้ำทิ้ง ท่อประปา และบ่อพัก ซึ่งควรจดหรือถ่ายรูปตำแหน่งเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการซ่อมแซมในอนาคต

3. หลังคาและโครงสร้างของบันได

หลังจากก่อสร้างโครงสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้งหลังคา ซึ่งมีหลายรูปแบบ โดยเจ้าของบ้านสามารถเลือกสีสันและรูปแบบตามความชอบได้ การติดตั้งหลังคายังเป็นช่วยในการเริ่มทำโครงสร้างบันไดและเก็บงานโครงสร้างส่วนอื่นๆให้พร้อมสำหรับการก่อผนังในลำดับถัดไป

4. ผนังบ้าน วงกบ รวมทั้งงานระบบ

เมื่อก่อผนังแล้ว มาถึงขั้นตอนการติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง และฉาบผนังให้เรียบสม่ำเสมอ โดยใช้ความชำนาญและพิถีพิถัน รวมถึงการฝังระบบต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ช่องเซอร์วิส และฝ้าเพดานตามความสูงที่กำหนดในแบบ

5. งานตกแต่งบ้าน

ขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างบ้านคือการทาสี ปูกระเบื้อง ติดวอลเปเปอร์ และการติดตั้งวัสดุต่างๆ เช่น ประตู หน้าต่าง และเฟอร์นิเจอร์ ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ระยะเวลาการใช้งาน และความปลอดภัย รวมถึงการติดตั้งระบบแสงสว่างต่างๆ ตรวจสอบว่าติดตั้งตามมาตรฐานหรือไม่

บทสรุปส่งท้าย

การสร้างบ้านเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและทุนทรัพย์มาก ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีความชำนาญและประสบการณ์ และตรวจสอบและสอดส่องขั้นตอนการก่อสร้างบ้านให้ละเอียดอย่างมาก เพื่อป้องกันความผิดพลาดและความเสียหายในอนาคต การซื้อบ้านโครงการสามารถช่วยลดความยุ่งยากและความเสี่ยงในการสร้างบ้านได้

source: Con Mueangsak

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

ต้นอินทรชิต, เสลา(สะ-เหลา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร วิธีปลูก ราคา?

ต้นสัตฤาษี (ตีนฮุ้งดอย) งานวิจัย ประโยชน์ สรรพคุณ สมุนไพร?

ต้นโมกมีกี่ชนิด โมกพวง, โมกซ้อน, โมกบ้าน (โมกลา) แตกต่างกันยังไงบ้าง ราคาถูก?

✓ต้นไม้: 'พีพวนน้อย' (หมากผีผ่วน) ผลไม้ป่าไทย วงศ์กระดังงา?