ต้นเข็มสาวดอย ดอกไม้ป่าบนภูกระดึง ลักษณะ ดอกเข็มสาวดอย?

เข็มสาวดอย คืออะไร?

เข็มสาวดอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mycetia gracilis Craib อยู่ในวงศ์ดอกเข็ม Rubiaceae พบที่ทางขึ้นภูกระดึง จะพบได้ง่ายบริเวณซำแคร่ ซำสุดท้ายก่อนถึงหลังแป เป็นพรรณไม้ดอกที่พบในเมียนมา ไทย จีนตอนใต้และภูมิภาคอินโดจีน

ลักษณะ

ไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบคู่ตรงข้ามมีขนาดต่างกันมาก (anisophyllous) ข้างที่มีขนาดเล็กมักยาวไม่เกิน 1 ซม. 

ต้นเข็มสาวดอย ดอกไม้ป่าบนภูกระดึง ลักษณะ ดอกเข็มสาวดอย

อีกข้างมีขนาดปกติ รูปใบหอกกลับหรือรูปรีแกมรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.8-3 ซม. ยาว 2.5-9.5 ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายเยื่อถึงบางคล้ายกระดาษ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ

ดอกเข็มสาวดอย

ช่อดอกออกที่ปลายยอด ช่อย่อยมี 3 ดอก ก้านดอกเรียวยาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียวเล็ก กลีบดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก คอหลอดดอกมีขนหนาแน่น ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 แบบ แบบแรกติดที่คอหลอดดอก (มีก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น) แบบที่สองติดที่โคนหลอดกลีบดอก (มีก้านยอดเกสรเพศเมียยาว)

ตัวอย่างต้นแบบ Kerr 1833 เก็บโดยหมอคาร์ (A. F. G. Kerr) จากดอยสุเทพ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1911.