ต้นกระทือ ประโยชน์ สรรพคุณ ยาสมุนไพร องค์ประกอบทางเคมี?

กระทือ คืออะไร

กระทือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber zerumbet (L.) Sm. จัดอยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ shampoo ginger, wild ginger คือ หัวคือ กะทือป่า กะแวน กะแอน เฮียวขา เฮียวดำ เฮียวแดง และแฮวดำ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นกระทือ ประโยชน์ สรรพคุณ ยาสมุนไพร องค์ประกอบทางเคมี

กระทือ เป็นพืชล้มลุก เหง้ามีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นฉุน ลำต้นสูงประมาณ 2 ม. ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ใบเรียวยาว สีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นจากหัวใต้ดิน ช่อก้านดอก ยาว ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดงซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวลแทรกอยู่ตามเกล็ด

รายละเอียดเพิ่มเติม

กระจายพันธุ์

พบทั่วไปในทวีปเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค มีปลูกตามสวน ขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วไป ในฤดู แล้งลำต้นจะแห้งยุบตัวลง เมื่อถึงฤดูฝนจะแทงหน่อขึ้นมาใหม่ สามารถนำหน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น และช่อ ดอกอ่อน มาประกอบอาหาร นำมาแกง รับประทานกับน้ำพริก ผัด หรือยำ เป็นต้น

สำหรับการเก็บเกี่ยวเหง้า กระทือสำหรับใช้ทำยา นิยมเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม - เมษายน หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น และช่อดดอกอ่อน ใช้ประกอบอาหาร นำมาแกง รับประทานกับน้ำพริก ผัด หรือยำ เป็นต้น

ประโยชน์ สรรพคุณ

เหง้าสดมีรสขม ขึ้น ปร่า เผ็ดเล็กน้อย สรรพคุณแผนโบราณ ส่วนเหง้าของกระทือ บำรุงน้ำนม แก ปวดมวนในท้อง แก้บิด ขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ และขับปัสสาวะ เป็นสมุนไพรในตำรับยาแผนโบราณ ในบัญชียาจากสมุนไพร บัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ยาไฟประลัยกัลป์ ช่วยขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ยาเลือดงาม บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด และยากษัยเส้น บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี

เหง้ากระทือมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย พบสาร terpene กลุ่ม sesquiterpenes laun zerumbone, humulene, caryophyllene, zingiberene nau monoterpenes ได้แก่ borneol, a-pinene, Linalool, timnonene, camphene, sabinene, citral, Y-terpinene, eucalyptol, B-mircene wasans polyphenol nau flavonoids lauri kaempferol, kaempferol-3-0- methyl, kaempferol-3-0-(2,4-di-O-acetyl-a-l-rhamnopyranoside), kaempferol-3-0-(3,4-di-O- acetyl-a-L-rhamnopyranoside), kaempferol-3-0-(4-acetyl) rhamnoside, kaempferol-3,4',7-0- trimethylether 

การศีกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการวิเคราะห์สารสำคัญของเหง้ากระทือและการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูล อิสระ ต้านอักเสบ สารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์บรรเทาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในหนู แรท สารสกัดเอทานอลและสารสกัดมาตรฐาน Zerumbone มีฤทธิ์บรรเทาโรคไขมันสะสมในตับที่ ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในหนูแฮมสเตอร์  สารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ลดภาวะไขมันในเลือดสูงในหนูแรท

สาร Zerumbone มีฤทธิ์ลดภาวะไขมันในเลือดสูงในหนูแฮมสเตอร์  มีฤทธิ์ป้องกันการ เกิดรอยก่อโรค aberrant crypt foci (ACF) ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งและเกี่ยวข้อง กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูแรท มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรด ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และยับยั้งเชื้อ Helicobacter pylori สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรท  น้ำมัน หอมระเหยมีฤทธิ์แก้ปวดในหนูเม้าส์ 

นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์และยับยั้งเชื้อ แบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans สาเหตุของโรคฟันผุ ยับยั้งโปร โตซัวลิชมาเนีย Leishmania donovani และยับยั้งการเกิดโรคผิวหนังจากเชื้อราและยับยั้งการทํางาน ของเอนไซม์ protease ที่เป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองของผิวหนัง

การทดสอบความเป็นพิษ

การประเมินความเป็นพิษระดับเซลล์ โดยการทดสอบไมโครนิวเคลียส (micronucleus test) เพื่อชี้ วัดเซลล์ที่มีการแตกตัวของนิวเคลียส โดยให้สารสกัดเอทานอลจากเหง้ากระทือผ่านทางปากหนูเม้าส์ในขนาด 500, 1,000 และ 2,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 2 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดสอบพบว่า micronucleated polychromatic erythrocytes (MNPCEs) และค่าเฉลี่ยอัตราส่วนของ polychromatic erythrocytes ต่อเม็ดเลือดแดงทั้งหมด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษของ ยืนและไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์

การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรท โดยให้สารสกัดเอทา นอลจากเหง้ากระทือขนาด 15 ก./กก.นน.ตัว ครั้งเดียว ผ่านทางปาก สังเกตอาการ 14 วัน ไม่พบความเป็นพิษ และการตายของหนูแรท ค่า LD มีค่ามากกว่า 15 ก./กก.นน.ตัว และทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง ให้สารสกัดเอทานอลจากเหง้ากระทือขนาด 1,000, 2,000 และ 3,000 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 28 วัน ไม่พบ การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว พฤติกรรมการกินน้ำและอาหาร ค่าทางโลหิตวิทยาและชีวเคมี การตรวจชิ้น เนื้อและการตรวจทางพยาธิวิทยาไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ค่าปริมาณของสารสกัดที่มากที่สุดซึ่งได้รับทุกวัน แล้วไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย (no observed adverse effect level; NOAEL) เท่ากับ 3,000 มก./กก./วัน

บทสรุป

กระทือ ผักพื้นบ้านที่มีการนำมาปรุงอาหาร และใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ ประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหย พบสารสำคัญ Zerumbone ในปริมาณสูง และมีข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ที่น่าสนใจ ได้แก่ บรรเทาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน บรรเทาโรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการ ดื่มแอลกอฮอล์ ลดไขมันในเลือด ป้องกันการเกิดรอยก่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยับยั้งการ หลั่งกรด ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นต้น

แต่เป็นเพียงการทดสอบในระดับหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงไม่ควรใช้ กระทือเพื่อมุ่งเน้นการบรรเทาอาการของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมหรือการทดสอบทางคลินิก ๆ ต่อไป สำหรับการใช้ตามตำรับยาแผนโบราณ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร) ควรใช้ตามข้อบ่ง ใช้ ขนาด วิธีการใช้ และข้อห้ามใช้ ที่กำหนดไว้ ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ มีความผิดปกติของตับและไต มีข้อควรระวังการใช้ตำรับยากษัยเส้น อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ทำให้ แสบร้อนยอดอก

อย่างไรก็ตามจากภูมิปัญญาชาวบ้านในภาคใต้ มีการนำกระบือซึ่งมีกลิ่นฉุนและประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหยมาปรุงอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว ทำให้อาหารน่ารับประทาน ช่วยให้เจริญอาหาร และยังมี สรรพคุณช่วยในการขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และเนื่องจากอาหารของภาคใต้ประกอบด้วยเครื่องแกงที่ เตรียมจากพริกและมีรสเผ็ดจัด ในพริกมีสารแคปไซซินอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ใน ระบบทางเดินอาหาร

การนำกระทือมาปรุงอาหารนั้น อาจมีส่วนช่วยในการปกป้องระบบทางเดินอาหารได้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สอดคล้องกับข้อมูลงานวิจัยอย่างน่าสนใจ ดังนั้นการรับประทานสมุนไพรพื้นบ้าน หลากหลายชนิดในปริมาณที่เหมาะสมสลับสับเปลี่ยนกันไป อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลาย และมีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี

ที่มา: thailandica

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

✓ศัตรูพืช: หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน?

ต้นจำปาทอง (จำปาป่า) จำปาบ้าน ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีปลูก การดูแลและขยายพันธุ์?

✓ทำสวน: มือใหม่หัดปลูกแคคตัส วิธีเลี้ยง ดูแล ต้นกระบองเพชร?

คำว่า 'พันธุ์พืช' คืออะไร พันธุ์พืชประเภทต่าง ๆ มีพันธุ์อะไรบ้าง?

การแบ่งประเภท(ตัวย่อ) สูตรผสม สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช รูปแบบของกลุ่มสารผสม?

ต้นเงาะโรงเรียนนาสาร พันธุ์แท้ สุราษฎร์ฯ ราคาถูก วิธีปลูก ดูแล?

✓การใช้ประโยชน์ จากการปลูกพรรณไม้ดอกหอม ชนิดต่างๆ?

ต้นกันเกรา ความหมาย ประโยชน์ ไม้มงคลปลูกในบ้าน สรรพคุณทางสมุนไพร ราคาถูก?